วันพุธที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ดาราศาสตร์

ดาราศาสตร์
ดาราศาสตร์ คือวิชาวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาวัตถุท้องฟ้า (อาทิ ดาวฤกษ์ ดาวเคราะห์ ดาวหาง และดาราจักร) รวมทั้งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติต่างๆ ที่เกิดขึ้นจากนอกชั้นบรรยากาศของโลก โดยศึกษาเกี่ยวกับวิวัฒนาการ ลักษณะทางกายภาพ ทางเคมี ทางอุตุนิยมวิทยา และการเคลื่อนที่ของวัตถุท้องฟ้า ตลอดจนถึงการกำเนิดและวิวัฒนาการของเอกภพ
ดาราศาสตร์เป็นหนึ่งในสาขาของวิทยาศาสตร์ที่เก่าแก่ที่สุด นักดาราศาสตร์ในวัฒนธรรมโบราณสังเกตการณ์ดวงดาวบนท้องฟ้าในเวลากลางคืน และวัตถุทางดาราศาสตร์หลายอย่างก็ได้ถูกค้นพบเรื่อยมาตามยุคสมัย อย่างไรก็ตาม กล้องโทรทรรศน์เป็นสิ่งประดิษฐ์ที่จำเป็นก่อนที่จะมีการพัฒนามาเป็นวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ ตั้งแต่อดีตกาล ดาราศาสตร์ประกอบไปด้วยสาขาที่หลากหลายเช่น การวัดตำแหน่งดาว การเดินเรือดาราศาสตร์ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์การสร้างปฏิทิน และรวมทั้งโหราศาสตร์ แต่ดาราศาสตร์ทุกวันนี้ถูกจัดว่ามีความหมายเหมือนกับฟิสิกส์ดาราศาสตร์ตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 20 เป็นต้นมา ดาราศาสตร์ได้แบ่งออกเป็นสองสาขาได้แก่ ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงทฤษฎี ดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์จะให้ความสำคัญไปที่การเก็บและการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการใช้ความรู้ทางกายภาพเบื้องต้นเป็นหลัก ส่วนดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีให้ความสำคัญไปที่การพัฒนาคอมพิวเตอร์หรือแบบจำลองเชิงวิเคราะห์ เพื่ออธิบายวัตถุท้องฟ้าและปรากฏการณ์ต่างๆ ทั้งสองสาขานี้เป็นองค์ประกอบซึ่งกันและกัน กล่าวคือ ดาราศาสตร์เชิงทฤษฎีใช้อธิบายผลจากการสังเกตการณ์ และดาราศาสตร์เชิงสังเกตการณ์ใช้ในการรับรองผลจากทางทฤษฎี
การค้นพบสิ่งต่างๆ ในเรื่องของดาราศาสตร์ที่เผยแพร่โดยนักดาราศาสตร์สมัครเล่นนั้นมีความสำคัญมาก และดาราศาสตร์ก็เป็นหนึ่งในวิทยาศาสตร์จำนวนน้อยสาขาที่นักดาราศาสตร์สมัครเล่นยังคงมีบทบาท โดยเฉพาะการค้นพบหรือการสังเกตการณ์ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงชั่วคราว
ไม่ควรสับสนระหว่างดาราศาสตร์โบราณกับโหราศาสตร์ ซึ่งเป็นความเชื่อที่นำเอาเหตุการณ์และพฤติกรรมของมนุษย์ไปเกี่ยวโยงกับตำแหน่งของวัตถุท้องฟ้า แม้ว่าทั้งดาราศาสตร์และโหราศาสตร์เกิดมาจากจุดร่วมเดียวกัน และมีส่วนหนึ่งของวิธีการศึกษาที่เหมือนกัน เช่นการบันทึกตำแหน่งดาว (ephemeris) แต่ทั้งสองอย่างก็แตกต่างกัน 
ในปี ค.ศ. 2009 นี้เป็นการครบรอบ 400 ปีของการพิสูจน์แนวคิดเรื่องดวงอาทิตย์เป็นศูนย์กลางของจักรวาล ของ นิโคเลาส์ โคเปอร์นิคัส อันเป็นการพลิกคติและโค่นความเชื่อเก่าแก่เรื่องโลกเป็นศูนย์กลางของจักวาลของอริสโตเติลที่มีมาเนิ่นนาน โดยการใช้กล้องโทรทรรศน์สังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์ของกาลิเลโอซึ่งช่วยยืนยันแนวคิดของโคเปอร์นิคัส องค์การสหประชาชาติจึงได้ประกาศให้ปีนี้เป็นปีดาราศาสตร์สากล มีเป้าหมายเพื่อให้สาธารณชนได้มีส่วนร่วมและทำความเข้าใจกับดาราศาสตร์มากขึ้น
วัตถุด้านลึกในท้องฟ้า : Deep Sky Objects

จำเป็นต้องใช้เครื่องมือมีประสิทธิภาพ มีความเข้าใจ ด้านรายละเอียดเป็นสำคัญ
และจำเป็นต้องอดทน ต้องรอคอยสภาพอากาศ เตรียมแผนการความพร้อมต่างๆ
ให้ดี ต้องศึกษารายละเอียด กลุ่มวัตถุในท้องฟ้า ที่จะดูล่วงหน้าในทุกด้านก่อน
การสังเกตการณ์จึงสัมฤทธิ์ผล

Deep sky Objects :
ความหมายและรายละเอียด


เป็นนิยามกำหนด โดยนักดาราศาสตร์สมัครเล่น ได้บรรยายถึงวัตถุในท้องฟ้าซึ่ง
อยู่นอกอาณาเขตระบบสุริยะ (Solar System) ประกอบไปด้วย






การใช้ระยะทางบอกระยะวัตถุ

คำว่า ปีแสง (Light year) คือ การวัดระยะแสง (หรือการแผ่รังสีใดๆ) เดินทางใน
สูญญากาศเท่ากับ 1 ปี (ของเขต Tropical zone) โดยมีความเร็ว 300,000 กม.
ต่อวินาที เพราะฉะนั้นแสงเดินทาง 1 ปีเท่ากับ 9,500,000,000,000 กม.

ดังนั้นเป็นเรื่องยุ่งยากมาก หากกล่าวว่า Andromeda Galaxy มีระยะทางห่างจาก
โลก 21,000,000,000,000,000,000 กม. จึงต้องใช้บอกระยะทางแบบ ปีแสง
เพื่อให้สะดวกต่อการเข้าใจและการเขียน ว่า Andromeda Galaxy มีระยะทางห่าง
จากโลกเท่ากับ 2.3 ล้านปีแสง

สำหรับ Astronomical Unit (AU) เป็นหน่วยวัดระยะทางดาราศาสตร์ คิดจากค่า
เฉลี่ยระยะทางระหว่าง โลกและดวงอาทิตย์ เท่ากับ 1 AU. (150 ล้านกม. หรือ
93 ล้านไมล์) ซึ่งใช้บอกระยะทางในระบบสุริยะ เช่น ดาวพลูโต (Pluto) มีระยะ
ทางห่างจากดวงอาทิตย์ 40 AU.

บางกรณี นักดาราศาสตร์ ใช้หน่วยบอกระยะหน่วย parsec ได้โดย 1 parsec
เท่ากับ 3.3 ปีแสง

เช่น ดวงอาิทิตย์มีระยะทางห่างจากโลก 150 ล้านกิโลเมตร แสงใช้เวลาเดินทาง
มาสู่โลก 8.3 นาที เท่ากับภาพดวงอาทิตย์ มิใช่เวลาปัจจุบันเท่ากับโลก แต่เป็น
เหตุการณ์อดีต ที่ผ่านมาแล้ว 8.3 นาที

ในทำนองเดียวกัน Sirius ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเรา 8 ปีแสง ระยะทางดังกล่าวเท่ากับ
แสงเดินทาง 8 ปีเมื่อแสง จึงมองเห็นดาว Sirius แต่เป็นภาพของอดีต 8 ปีที่แล้ว

อีกกรณี เช่น บริเวณ Orion nebula มีกลุ่มดาวเพิ่งเกิดใหม่ เมื่อ 1,500 ปี ที่ผ่าน
มาเวลาบนโลกขณะนั้น คือยุคอาณาจักร Roman หากเราอยู่ในยุคนั้นไม่สามารถ
เห็นกลุ่มดาวเกิดใหม่เหล่านั้นได้เลย ทั้งๆดาวนั้นปรากฏแล้วเพราะการเดินของแสง
ต้องใช้เวลา

และถ้าระยะ 1,000,000 ปีแสง ของบางกาแล็คซี่ เราก็กำลังมองอดีตที่ผ่านมาเท่า
กับระยะ การเดินทางของแสงคือ อดีต 1,000,000 ปี มาแล้ว

ไม่ว่าภาพถ่ายใดๆ ที่เราเห็นทั้งหมดของจักรวาล เป็นสิ่งปรากฏขึ้นในอดีตแต่จะ
นานเพียงใด ขึ้นอยู่กับระยะ ของตำแหน่งกลุ่มวัตถุนั้นๆ

Catalog : ต้นแบบ-แม่บทสำคัญ

นักดาราศาสตร์ได้แบ่งประเภทวัตถุบนท้องฟ้า เพื่อสะดวกต่ิอการศึกษาและเพื่อ
สังเกตการณ์ โดยจัดทำบัญชีรายชื่อ รายละเอียด พิกัดตำแหน่งดาวและกลุ่มดาว
ต่างๆบนแผนที่ดาวในแบบต่างๆ

ปัจจุบัน มี Software ที่ทันสมัยและสะดวกขึ้นมีรายละเอียดวัตถุมากกว่า 30 ล้าน
รายการในฐานข้อมูล แต่อย่างไรก็ตาม การเริ่มต้นศึกษาสังเกตการณ์แบบ Deep
sky Objects จำเป็นต้องเข้าใจ ข้อมูลหลักที่นักดาราศาสตร์อดีตได้ทำการศึกษา
ไว้เรียกว่า Catalog

แต่ละ Catalog อาจมีกลุ่มซ้ำกันได้ แต่เรียกรหัสชื่อไม่เหมือนกัน
สามารถเข้าดูรายละเอียด ตาม Links ดังนี้




    Messier Catalogue
โดยนักดาราศาสตร์ ชาวฝรั่งเศส
ชื่อ Charles Messier
(June 26, 1730 - April 12, 1817)

Messier ข้อมูล 110 วัตถุ (M1-M110)
ถือว่าเป็นแบบแผน ที่สมบูรณ์สำหรับการ
ศึกษาด้านดาราศาสตร์เบื้องต้น
ปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้ทั่วไป
    New General Catalogue and Index Catalogues
โดยนักดาราศาสตร์ ชาวเดนมาร์ก
ชื่อ John Louis Emil Dreyer
(Feb 13, 1852 - Sep 14, 1926)

New General Catalogue (NGC)
ข้อมูล 7,840 วัตถุ (NGC1 - NGC 7,840)

Index Catalogues I & II
ข้อมูล 5,386 วัตถุ (IC1 - IC 5,386)


     Caldwell Catalogue
โดยนักดาราศาสตร์ ชาวอังกฤษ
ชื่อ Sir Alfred Patrick Caldwell-Moore
(Mar 4, 1923 - )

Caldwell
ข้อมูล 109 วัตถุ (C1 - C109)
 Nebula : กลุ่มเนบิวล่า หรือ กลุ่มรังสีฝุ่นหมอก
Diffuse Nebula : เนบิวล่าแบบแพร่กระจาย

การรวมตัว กลุ่มฝุ่นหมอกควันของก๊าซ ที่แพร่กระจาย คือมวลสสาร (Matter)
หากมีความหนาแน่น และขนาดใหญ่เพียงพอ สามารถเป็นแหล่ง ก่อตัวของดาว 

ภายในกลุ่มก๊าซเหล่านี้มักมีดวงดาวเกิดใหม่ ความร้อนสูงมากปลดปล่อยพลังงาน
ก๊าซมีส่วนประกอบ ของ Hydrogen ออกมากระทบ กลุ่มก๊าซอวกาศเกิดลักษณะ
เหมือนแสง เรียกว่า Emission Nebula (เนบิวล่าแบบเรืองแสง) ซึ่งเป็นอะตอม
และละอองของไอออน (Ionized) จากรังสี Ultraviolet ของดาว

เนื่องจาก จักรวาล อุดมสมบูรณ์ไปด้วย Hydrogen ทั้งหมดผสมรวมใน Nebula
สามารถแสดงปฏิกิริยาเป็นสีแดง สีเขียว ด้วยละอองของไอออน ที่แพร่กระจาย
ด้วยการสะท้อนจาก Oxygen เราจึงเห็นภาพถ่าย Nebula เป็นสีต่างๆได้ตามธาตุ
ของกลุ่มฝุ่นหมอกนั้นๆ

ถ้าจำนวนรังสี Ultraviolet มีจำนวนมาก บริเวณ Nebula นั้นอาจมีความสว่างไสว
มากกว่าดาว ส่วนบางกลุ่มดาว มีความร้อนน้อยกว่ากลุ่มก๊าซอวกาศจึงได้รับเพียง
ผลกระทบสะท้อน แสงจากดาวมองเห็นเป็นแสงสีขาว หรือน้ำเงินอ่อนๆ (Bluish)
เรียกว่า Reflection Nebula (เนบิวล่าแบบสะท้อนแสง)
NGC281 (PacMan) Emission Nebula
มีกระจุกดาวเล็กรวมอยู่ด้วย ห่างจากดวงอาทิตย์ 10,000 ปีแสง
IC 1396 Emission Nebulae ขนาด 20 ปีแสง ห่างจากดวงอาทิตย์ 3,000 ปีแสง
ในบริเวณทางช้างเผือก จุดขาวเล็กๆคือดาวเกิดใหม่ อายุประมาณ 100,000 ปี
Energized Emission Nebula in Large Magellanic Cloud (LMC) ขนาด 150 ปีแสง
ความร้อนภายในมากกว่า 100,000 องศา จุดขาวเล็กคือ ดาวเกิดใหม่เป็นจำนวนมาก
M42 Orion Reflection Nebula ขนาด 29 x 26 ปีแสง ห่างจากดวงอาทิตย์ 1,600ปีแสง
จุดสีขาวใหญ่ คือดาวเกิดใหม่ อายุ 100,000 ปี
IC 349 Reflection Nebula (Barnard's Merope) ห่างจากดวงอาทิตย์ 440 ปีแสง
Planetary Nebula : เนบิวล่าคล้ายดาวเคราะห์ 

เป็นการเปล่ง ปลดปล่อยแสงจากพลังงาน ที่เผาไหม้แกนกลางของดาว ในสถานะ
ใกล้หมดลง ที่สุดบริเวณเปลือกของดาวฤกษ์นั้นเต็มไปด้วย มวลของก๊าซพลังงาน
สูงมองเห็นแสงสว่างรอบๆ ลักษณะแสงที่เกิดขึ้นรอบๆนั้นมีรูปแบบปลดปล่อยออก
มาแบบวูบวาวเป็นจังหวะทั้งกลุ่ม ขอบเขตใหญ่โตมาก

การปลดปล่อยแสงดังกล่าวนั้น พร้อมการระเบิดพุ่งออกมา ด้วยลักษณะเศษซาก
แตกกระจายคล้ายดาวหาง พุ่งกระจายตัวทุกทิศทาง มีควันเป็นทางยาวหลายไมล์

มองเข้าไปส่วนใน เห็นดาวที่มีความร้อนแสงสว่างโชติช่วงอยู่ใจกลาง แสงที่เห็น
เป็นชนิด Ultraviolet จากใจกลางที่เป็นก๊าซ เกิดจากละอองสนามแม่เหล็ก เป็น
การเกิดขึ้นอย่างยาวนานต่อเนื่อง ขึ้นอยู่กับวัตถุดิบที่เหลืออยู่ อาจ นานนับหลาย
พันหลายหมื่นปี หรือมากกว่านั้น เชื่อว่ากาแล็คซี่ทางช้างเผือก มีกว่า 10,000 แห่ง

หมายเหตุ Planetary Nebula ไม่ใช่ ดาวเคราะห์ นักดาราศาสตร์สมัยโบราณใช้
กล้องดูดาว ขนาดเล็กสังเกตเห็นว่าคล้ายดาวเคราะห์ จึงตั้งชื่อดังกล่าว
M27 Dumbbell Planetary Nebula ขนาด 1.9 X 8 ปีแสง
ห่างจากดวงอาทิตย์ 1,200 ปีแสง อายุ 20,000 ปี
NGC 2440 Planetary Nebula ห่างจากดวงอาทิตย์ 4,000 ปีแสง
Helix Planetary Nebula ห่างจากดวงอาทิตย์ 700 ปีแสง
Cat's Eye Planetary Nebula ห่างจากดวงอาทิตย์ 3,000 ปีแสง
Supernova Remnants Nebula : เนบิวล่าสว่างแบบฉับพลัน 

ดาวในจักรวาล มีความใหญ่โต กว่า ดวงอาทิตย์ อย่างน้อย 3เท่า หรือถึงหลายร้อย
เท่า หลังจากปลดปล่อยพลังงานหมด จุดสิ้นสุดพัฒนาการกลายเป็น ดาวแคระขาว
(White Dwarf) บางทีใกล้ก่อนถึงจุดนี้ จะเกิดปฏิกิริยาปะทุแตกกระจายตัวอย่าง
รุนแรง แสงสว่างระเบิดเพิ่มขึ้นอีก ถึง 10 พันล้านเท่า เมื่อเทียบกับดวงอาทิตย์

การผลักดันจากเปลือกดวงดาวครั้งยิ่งใหญ่ มหาศาล เรียกว่า Supernova Type II
แต่ในทางกลับกัน หากมวลสสารของ ดาวแคระขาวลดลง แต่สามารถแตกกระจาย
ได้เช่นกัน เรียกว่า Supernova Type I ทั้ง 2 ประเภทรวม เรียกว่า Supernova
Remnants เช่น Crab Nebula Supernova Remnant
M1 Crab Nebula Supernova Remnant ขนาด 7 X 4.6 ปีแสง ห่างจากดวงอาทิตย์ 6,500 ปีแสง
Supernova Remnants Nebula
ระเบิดแตกตัวอย่างรุนแรงใช้เวลายาวนานต่อเนื่องหลายแสนถึงหลายล้านปี
(บนซ้าย-ขวา) เส้นผ่าศูนย์ 600 ปีแสงและ 1,500 ปีแสง
(ล่างซ้าย) ขนาด 10,000 ปีแสง เป็นแบบ Supernova Type I
(ล่างขวา) ขนาด 13,000 ปีแสง เป็นแบบ Supernova Type II
Dark Nebula : เนบิวล่ามืด 

คือ กลุ่มก๊าซหมอกหนาทึบ มองเห็นได้เพราะแสงจากวัตถุ ด้านหลังของเนบิวล่ามืด
นั้นฉายผ่านออกมา มีความแตกต่างจากเนบิวล่าอื่นๆทั้งหมด ในบริเวณเนบิวล่ามืด
จะไม่มีแสงจากดาวที่อยู่ใกล้เคียง
Barnard 72 (B72) Dark Nebula ห่างจากดวงอาทิตย์ 650 ปีแสง
Cloud Barnard 68 Dark Nebula มีขนาด 500 ปีแสง



บางกรณีกาแล็คซี่คล้ายรูปไข่ สามารถแปรสภาพกลมกลืนไปกับกาแล็คซี่ประเภท
อื่นได้ การสำรวจที่ผ่านมา มีการแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงประเภทของกาแล็คซี่
ดังนั้น กาแล็คซี่คล้ายกังหัน อนาคตอาจเป็นกาแล็คซี่คล้ายรูปไข่ได้เช่นกัน

ด้วยการวิเคราะห์ปัญหาใหญ่คือ มวลในกาแล็คซี่ ยังไม่ทราบทั้งหมด ถึงกลไกการ
ก่อตัวกาแล็คซี่ ทั้งนี้เป็น การวิวัฒน์อย่างสืบเนื่องของจักรวาล โดยอาจมีเรื่องของ
หลุมดำ และควอซาร์ เข้ามาเกี่ยวข้องใน ระบบกลไกการก่อตัวดังกล่าวด้วย

โดยแบ่งประเภท ตามหลักเกณฑ์ของ Types of galaxies classified by Hubble
หรือจากความนิยมทั่วไป ของนักดาราศาสตร์ ดังนี้

Spiral Galaxy : ดาราจักรกังหัน 

ลักษณะแบบมี แผ่นจานของกาแล็คซี่ (Galactic disk) ขนาดใหญ่ ตรงกลางเป็น
กระเปาะกลม มีแขน (Arm) เหยียดออกไป หลายอันเป็นเกลียว เหมือนกังหัน
โดยมี2 องค์ประกอบหลัก

องค์ประกอบที่ 1 ภายในเต็มไปด้วย มวลสสารของดวงดาว (Interstellar Matter)
มีสีแดงเรือๆ (Reddish) หรือกลุ่มหมอกดำ มีกระจุกดาวใหม่เหตุด้วยมีมวลสาร
เพียงพอต่อการก่อตัวดาว สังเกตว่าจะมีดาวแสงฟ้าอ่อน (Bluish) บริเวณแขนของ
กาแล็คซี่ อยู่เป็นหย่อมๆ ซึ่งเป็นดาวเกิดใหม่อายุน้อย (Youg stars)

องค์ประกอบที่ 2 เต็มไปด้วย กลุ่มดาวเก่าแก่ มักมี กระจุกดาวแบบทรงกลม อยู่ใน
บริเวณกระเปาะ เห็นมวลรัศมี แสงกระจายวงกลมเด่นชัดอยู่ตรงกลาง เมื่อมองจาก
ระยะไกล โดยกลุ่มดาวเก่าแก่ดังกล่าว มีอายุมากกว่าดวงอาทิตย์ เป็นพัฒนาการ
ดาวก้าวไปสู่การขยายตัว เปลี่ยนสภาพเป็น ดาวยักษ์สีแดง (Red giants) สังเกต
ว่าดาวเหล่านี้ มีสีแดงหรือส้ม ท้ายที่สุดเมื่อก็าซซึ่งเป็นวัตถุดิบพร่องลง ก็จะก้าวสู่
สภาพดาวหมดอายุขัย
NGC 3184 Spiral Galaxy ห่างจากดวงอาทิตย์ 60 ล้านปีแสง ขนาด 30,000 ปีแสง
ลักษณะตามองค์ประกอบที่ 1 คือ มีดาวเกิดใหม่อายุน้อย (Youg stars) สีฟ้าอ่อน
เกิดขึ้นเป็นหย่อมๆบริเวณแขนกาแล็คซี่ ภายในมีสีแดงเรือๆ แสดงถึงลักษณะมวลสสาร
NGC 3184 Spiral Galaxy ห่างจากดวงอาทิตย์ 40 ล้านปีแสง
ลักษณะตามองค์ประกอบที่ 1 คือ มีดาวเกิดใหม่อายุน้อย (Youg stars) สีฟ้าอ่อน
เกิดขึ้นเป็นหย่อมๆบริเวณแขนกาแล็คซี่ ภายในมีสีแดงเรือๆ แสดงถึงลักษณะมวลสสาร
M 51 Spiral Galaxy (Whirlpool) ห่างจากดวงอาทิตย์ 37 ล้านปีแสง ขนาด 118,000 ปีแสง
ลักษณะตามองค์ประกอบที่ 1 คือ มีดาวเกิดใหม่อายุน้อย (Youg stars) สีฟ้าอ่อน
เกิดขึ้นเป็นหย่อมๆบริเวณแขนกาแล็คซี่ ภายในมีสีแดงเรือๆ แสดงถึงลักษณะมวลสสาร
M 81 Spiral Galaxy ห่างจากดวงอาทิตย์ 11.6 ล้านปีแสง ขนาด 72,000 ปีแสง
มีลักษณะตามองค์ประกอบที่ 2 คือ จุดศูนย์กลางมีมวลรัศมีใหญ่และชัด
แสดงถึงกลุ่มกระจุกดาวเก่าแก่สีแดง เป็นจำนวนมาก และมีหลุมดำขนาดมวล 70 ล้านเท่า
ของดวงอาทิตย์ อยู่บริเวณแกนกลางด้วย
NGC 7742 Spiral Galaxy ห่างจากดวงอาทิตย์ 72 ล้านปีแสง ขนาด 3,000 ปีแสง
มีลักษณะตามองค์ประกอบที่ 2 คือ จุดศูนย์กลางมีมวลรัศมีใหญ่และชัดแสดงถึง
กลุ่มกระจุกดาวเก่าแก่สีแดง เป็นจำนวนมาก และ มีหลุมดำอยู่บริเวณแกนกลางด้วย
Lenticular Galaxy : ดาราจักรคล้ายเลนซ์ 

แท้จริงแล้วเป็น กาแล็คซี่แบบกังหัน แต่สั้นกว่า ไม่มีลักษณะขดเป็นวงแบบกังหัน
ส่วนแผ่นจาน (Disk) ดูนุ่มนวล (Smooth) เนื่องจากมีการหยุดพัฒนา รูปแบบของ
ดาวภายในกาแล็คซี่มายาวนาน

เหตุผลมวลพลังงานได้ใช้ไปเกือบหมดสิ้นเป็นเงื่อนไข เกิดขึ้นจากองค์ประกอบที่
2 (ของกาแล็คซี่แบบกังหัน) ซึ่งดาวเก่าแก่ภายในกาแล็คซี่ ถึงวาระหมดอายุขัย
เป็นส่วนใหญ่ หากสังเกตกาแล็คซี่ ลักษณะคล้ายเลนซ์ มีลักษณะเกือบไม่แตกต่าง
กับกาแล็คซี่รูปไข่ เมื่อมองจากระยะไกลจากโลก
NGC 3115 ห่างจากดวงอาทิตย์ 32 ล้านปีแสง โดยมีขนาดใหญ่กว่าทางช้างเผือก
NGC 2787 Barred Lenticular Galaxy ขนาด 4,500 ปีแสง ห่างจากดวงอาทิตย์ 25 ล้านปีแสง
NGC 5866 Lenticular Galaxy ขนาด 69,000 ปีแสง ห่างจากดวงอาทิตย์ 45 ล้าน ปีแสง
Elliptical Galaxy : ดาราจักรรูปไข่ 

ลักษณะรูปทรงดูเหมือนไข่ อย่างชัดเจน (บางครั้งเรียกว่า Cosmic Football) โดย
กาแล็คซี่แบบนี้ แต่ละมุมเหมือนมองแล้ว แทบไม่มีความเคลื่อนไหว ในความเป็น
จริงการเคลื่อนไหว มีศูนย์กลางที่นิ่งมาก (โดยตามสถิติตัวเลขข้อมูลดาราศาสตร์
มีการเปลี่ยนแปลง ของมุมน้อยมาก)

เป็นกาแล็คซี่ขนาดเล็ก ไม่มีมวลสสารดวงดาว (Interstellar Matter) มีเงื่อนไข
การก่อตัวแบบองค์ประกอบที่ 2 (ของกาแล็คซี่ แบบกังหัน) มวลรัศมีของแสงดู
คล้ายกระเปาะของกาแล็คซี่แบบกันหัน แต่จะไม่มีแผ่นจาน (Disk)

อย่างไรก็ตามเคยสำรวจพบว่าบางกาแล็คซี่แบบรูปไข่บางแห่งก็มี แผ่นจาน (Disk)
ขนาดเล็กเป็นองค์ประกอบ อยู่ภายในเช่นกัน จึงอาจไม่ใช่คำตอบสุดท้ายของ
ลักษณะรูปแบบของกาแล็คซี่ประเภทนี้
NGC 1132 Elliptical Galaxy ห่างจากดวงอาทิตย์ 300 ล้านปีแสง
Centaurus A Elliptical Galaxy ขนาด 60,000 ปีแสง ห่างจากดวงอาทิตย์ 13 ล้านปีแสง
M32 Elliptical Galaxy ขนาด 5,600 ปีแสง ห่างจากดวงอาทิตย์ 240,000 ปีแสง
Barred Spiral Galaxy : ดาราจักรกังหันมีแถบ (และกระเปาะตรงกลาง) 

เป็นดาราจักรแบบกังหัน ที่มีส่วนประกอบหลักแผ่นจานกลมตรงกลาง เป็นกระเปาะ
กลมและมีแขนเชื่อมต่อหมุนออกมาโดยรอบ เป็นองค์ประกอบ ลักษณะของแถบ
แนวขวาง (Bar) พาดผ่านใจกลางดาราจักร มักมีสัดส่วนเป็นครึ่งหนึ่ง ของขนาด
กังหันทั้งหมดในดาราจักร

แถบแนวขวางนั้น เกิดจากผลกระทบ ระหว่างการเคลื่อนไหวจากกลุ่มก๊าซของดาว
ภายในวงกังหันของดาราจักรตนเอง
NGC 1365 Barred Spiral Galaxy ห่างจากดวงอาทิตย์ 350 ล้านปีแสง ขนาด 200,000 ปีแสง
ลักษณะ Bar เป็นเส้นตรงพาดตลอดแนวดาราจักรมีกระเปาะใหญ่ อยู่จุดศูนย์กลาง (Nucleus)
โดยแรงโน้มถ่วงรุนแรงจาก Bar ยึดเหนี่ยวกลุ่มก๊าซหมอกฝุ่น แผ่กว้างไปทั่วแขนจนสุดแนว
Milky Way จัดอยู่ในประเภท Barred Spiral Galaxy
Irregular Galaxy : ดาราจักรรูปทรงผิดปกติ 

เหตุจากเกิดแรงดึงดูดของ กลุ่มมวลสสารอวกาศข้างเคียงทำให้เกิดการบิดเบี้ยวผิด
รูปร่างไปเหมือนไร้รูปทรงที่ชัดเจน พบว่ามีส่วนบิดเบี้ยวของแผ่นจาน (Disk) จึงทำ
ให้รูปร่างแปลกประหลาดกว่า กาแล็คซี่แบบอื่นๆ ในจักรวาล
Large Cloud of Magellan Irregular Galaxy
ขนาด 15,000 ปีแสง ห่างจากดวงอาทิตย์ 180,000 ปีแสง
NGC 6745 Irregular galaxy ขนาด 80,000 ปีแสง ห่างจากดวงอาทิตย์ 200 ล้าน ปีแสง
Giant Bird Galaxy Cluster ขนาด 100,000 ปีแสง ห่างจากดวงอาทิตย์ 650 ล้านปีแสง
Interacting Galaxy : ดาราจักรเกิดปฎิกิริยาต่อกัน 

ด้วยดาราจักรหนึ่ง มีแรงโน้มถ่วงไปเกี่ยวพันกับดาราจักรอื่น จนเกิดการดึงดูดเข้า
พุ่งเข้ารวมตัวกัน จากสาเหตุ ดาราจักรนั้นมี ดาราจักรบริวาร (Satellite galaxy)
จึงมีความเกี่ยวพันกันแต่เดิม จากแขนกังหันของดาราจักร หรือจากกรณีชนปะทะ
กัน (Collision) โดยลักษณะการรวมตัวจะมีความวุ่นวายภายใน ของมวลก๊าซลาก
ยาวเป็นแนวทางยาวหลายร้อยปีแสง หรือมากกว่านั้นสำหรับดาราจักรขนาดใหญ่
และใช้เวลานานมาก นับอีกหลายล้านปีจึงสงบนิ่ง
AM 0500-620 Interacting Galaxy บางส่วนค่อยๆเลื่อนตัวเข้าหากัน
มีระยะทางห่างจากโลก 350 ล้านปีแสง
Arp 148 Interacting Galaxy มีระยะทางห่างจากโลก 500 ล้าน ปีแสง
Star Clusters : กลุ่มกระจุกดาว
Globular Clusters : กระจุกดาวทรงกลม 

คือกลุ่มดาวที่อยู่รวมกัน คล้ายเป็นก้อนด้วยแรงดึงดูดโน้มเอียงเข้าหากัน ลักษณะ
เหมือนวงกลม คล้ายผลส้มโดย แต่ละกลุ่มมีดาวหนาแน่นสูงมาก ตั้งแต่ 10,000 –
1,000,000 ดวง มีเส้นผ่าศูนย์กลางราว10 ปีแสง หรือมากกว่า 300 ปีแสง

มักพบบริเวณรอบๆ รัศมีส่วนที่โป่งออกมาของ กาแล็คซี่ทางช้างเผือก และพบใน
กาแล็คซี่อื่นๆ เช่นกัน ที่น่าสังเกตว่า มีความหนาแน่นมากบริเวณ Galactic Center
(ส่วนใจกลางกาแล็คซี่ทางช้างเผือก)

หากทำการศึกษาด้วยการแยกค่าของแสง สี (Spectroscopic) พบว่ากระจุกดาว
ทรงกลมส่วนมากมักจะแสดงค่าต่ำในกลุ่ม Heavy Elements (กลุ่มธาตุหนักของ
สารประกอบซึ่งมีทั่วไปในดาวฤกษ์) ทำให้เชื่อว่าส่วนใหญ่นั้น มีอายุระหว่าง 12
-20 ล้านปี บริเวณทางช้างเผือก มีกลุ่มกระจุกดาวทรงกลมประมาณ 200 กลุ่ม

แม้ว่ามีจำนวนนับล้านดวง การมองเห็นระยะไกล มักเห็นเหมือนเป็นจุดสว่างเพียง
จุดเดียว เมื่อใช้กล้องดูจะเห็นถึงรายละเอียด ของจำนวนที่มากมายเหลือเชื่อ และ
ลักษณะซ้อนทับกันก็มิได้อยู่ใกล้กันเลย บางกลุ่มมองเห็นการกระเพื่อมของแสง
มีความสวยงามอย่างน่าประหลาด
M 133 Globular Cluster หรือ Hercules ขนาด 104 ปีแสง
ห่างจากดวงอาทิตย์ 21,000 ปีแสง มีจำนวนดาวราว 500,000 ดวง อายุ 14,000 ล้านปี
M3 Globular Cluster ขนาด 150 ปีแสง ห่างจากดวงอาทิตย์ 35,000 ปีแสง
มีจำนวนดาวราว 50,000 ดวง อายุ 6,500 ล้านปี
NGC 5139 : Omega Centauri Globular Cluster กระจุกดาวมากกว่า 5 ล้านดวง
ขนาด 150 ปีแสง ห่างจากดวงอาทิตย์ 15,000 ปีแสง มองจากโลกในระยะไกล
เห็นเป็นจุดเล็กๆ เพียงจุดเดียวแท้จริงแล้วรวมกลุ่มอยู่เป็นจำนวนมาก
ใจกลางของ Omega Centauri Globular Cluster (กลุ่มเดียวกันกับภาพบน)
มีกลุ่มดาวกระจุกตัวหนาแน่นมาก แต่ละดวงอาจมีขนาดใหญ่กว่า ดวงอาทิตย์
NGC 5466 Globular clusters มีอายุแก่เก่า อยู่ในบริเวณทางช้างเผือก
Open Clusters : กระจุกดาวเปิด 

รูปแบบทางกายภาพ ดาวกระจายตัวเป็นย่อมๆ โดยมีแรงดึงดูดร่วมกัน ด้วยรูปทรง
อาจผิดแปลกกันออกไปในแบบต่างๆ มีความหนาแน่นของดาว ตั้งแต่ 10 ดวง จน หลายพันดวง

เชื่อว่าต้นกำเนิดกระจุกดาวเปิด เกิดจากกลุ่ม Large Cosmic Gas - Dust Cloud
(กลุ่มก๊าซอวกาศ-ฝุ่นก๊าซหมอกขนาดใหญ่มาก) ในทางช้างเผือก โดย กระจุกดาว
โคจรไปรอบๆกาแล็คซี่ แล้วผสมรวมกับกลุ่มก๊าซฝุ่นหมอก เนบิวล่า (Nebula)

ต่อมาจึงมีการพัฒนาการ กำเนิดรูปแบบดวงดาว (Stars Forming) จึงหยุดนิ่งการ
เคลื่อนไหว เพราะฉะนั้นมักพบ กลุ่มกระจุกดาวเปิดอยู่บริเวณเดียวกันกับแหล่งต้น
กำเนิดดาวใหม่

บางกรณี กลุ่มดาวได้โคจรล่องลอยไป ด้วยระยะเวลา ที่ยาวนานกว่า 100 ล้านปี
ทำให้แรงดึงดูด และสนามพลังแม่เหล็กต่างๆลดน้อยลง จึงมีผลต่ออายุขัยของ
กลุ่มดาวแบบนี้จะไม่มากไปกว่า 1 พันล้านปี

ความเป็นจริงกลุ่มดาวก็ไม่ได้ใกล้ชิดกันนักในพื้นที่อวกาศ เพียงแต่ มีตำแหน่งอยู่
ร่วมกันบริเวณแหล่งกำเนิดนั้นๆ โคจรท่องไปในอวกาศ บางครั้งอาจเคลื่อนตัวเข้า
ไปในกลุ่มทำให้หนาแน่นขึ้น เกิดการเปลี่ยนแปลงในจำนวนที่เคยมีอยู่ อาจเพิ่ม
ขึ้นหรือลดลงได้ (แต่ใช้เวลานับล้านปี) ทั่วไปแล้ว กระจุกดาวเปิด มีจำนวนดาว
น้อยกว่า กระจุกดาวทรงกลม

และยังไม่เคยสำรวจพบว่า กระจุกดาวเปิด สามารถรวมตัวจนเกิดการเปลี่ยนแปลง
เป็นกระจุกดาวทรงกลม ได้เลย
M 34 Open Clusters ขนาด 14 ปีแสง ห่างจากดวงอาทิตย์ 1,400 ปีแสง
มีจำนวนดาวราว 60 ดวง ส่วนใหญ่เป็นดาวเก่าแก่ กว่าดวงอาิทิตย์
ดาวที่มีแสงสีม่วง แสดงถึงความร้อนสูง บริเวณดังกล่าวไม่พบแหล่งก่อตัวดาวใหม่เลย
M 37 Open Clusters ขนาด 29 ปีแสง ห่างจากดวงอาทิตย์ 4,000 ปีแสง
มีจำนวนดาวราว 150 ดวง ส่วนใหญ่เป็นดาวเก่าแก่ (ดาวยักษ์สีแดง) อายุ 300 ล้านปี
NGC 290 Open Clusters ขนาด 65 ปีแสง ห่างจากดวงอาทิตย์ 200,000 ปีแสง
ลักษณะของกลุ่มดาวกระจายตัวเป็นย่อมๆแต่อยู่ใกล้กัน
ในความเป็นจริงนั้น คำว่าใกล้กันเป็นระยะห่างกันหลายร้อยปีแสง
M45 : Pleiades Star Cluster ขนาด 13 ปีแสง ห่างจากดวงอาทิตย์ 440 ปีแสง
มีจำนวนดาว 500 ดวง ชาวไทยเรียกดาวลูกไก่ชาวญี่ปุ่นเรียกดาวซูบารู ชาวยุโรปเรียกดาวเจ็ดพี่น้อง
Binary Star Systems and Multiple Star Systems :
ระบบดาวระบบคู่ และระบบดาวหลายดวง


Binary Star : ระบบดาวระบบคู่
ดาว 2 ดวง มีตำแหน่งอยู่ใกล้เคียงกัน การมองจากพื้นโลก คล้ายซ้อนเลื่อมกัน
แต่ความจริง แต่ละดวงมีระยะทางห่างกันมาก ทางทฤษฎีเกิดจากแรงดึงดูดซึ่งมี
ความเพียงพอของกันและกัน ดาวทั้งสองดวง จึงผูกมัดทำให้เกิดวงโคจรต่อกัน
เรียกว่า Binary Stars ดาวจะหมุนล้อมกันเป็นจังหวะ โดยสามารถคำนวณหาระยะ
เวลาตำแหน่งของวงโคจรได้

กรณีดาวทั้งสอง มีจังหวะโคจรมาซ้อนทับสนิทกัน มองระยะใกล้จากโลกทำให้เห็น
เหมือนดาวเป็นดวงเดียวกัน เรียก Optical Doubles ซึ่งทั้งสองกรณี บางครั้งเรียกDouble Stars

Multiple Star Systems : ระบบดาวหลายดวง
เกิดจากแรงดึงดูด เชื่อมโยงกันของกลุ่มดาว ด้วยองค์ประกอบอย่างน้อยมี 3 ดวง หรือมากกว่า มองเห็นจากโลกเหมือนอยู่ใกล้เคียงกัน แท้จริงแล้วห่างไกลมากทาง
ทฤษฎีเรียก Ternary หรือ Triple Star system

บางดวงในกลุ่ม Triple Star system โคจรอยู่ตรงกลาง ส่วนที่เหลือโคจรล้อมรอบ
อยู่ใกล้ๆ ทั้งหมดเกิดจากแรงดึงดูด ซึ่งมีความพียงพอของกันและกัน ดาวที่มีอยู่
จึงผูกมัดทำให้เกิดวงโคจรต่อกันในหลายแบบ บางครั้งจำนวน 3 ดวง เรียก Three
stars และจำนวน 4 ดวง เรียก Quadruple
Sirius มี 2 ดวง คือ A & B ดาวระบบคู่ มองจากโลกด้วยตาเปล่าเห็นเหมือนดวงเดียว
Sirius A ตำแหน่งในภาพอยู่ด้านหน้า มีขนาดใหญ่กว่าโลกถึง 10,000 เท่า
Sirius B ขนาดเท่าโลกแต่แรงโน้มถ่วงบริเวณพื้นผิวมากกว่าโลก 400,000 เท่า
มีอุณหภูมิ 25,000 องศา C ระยะทางห่างจากโลก 8.6 ปีแสง
Albireo Double Star E H ดาวระบบคู่ี ห่างจากดวงอาทิตย์ 380 ปีแสง
Albireo Double Star E H เช่นกัน ในภาพระยะใกล้












































































































































































































































































































































































































































































































































































   The History of Ancient Astronomy :
     ประวัติดาราศาสตร์โบราณ [หน้า 1/2]
ต้นกำเนิดผสมกันระหว่าง ดาราศาสตร์และโหราศาสตร์

ดาราศาสตร์ดึกดำบรรพ์ ถือกำเนิดขึ้น ด้วยความแตกต่าง ความเชื่อของศาสนา
และวัฒนธรรม จากการเฝ้ามองท้องฟ้าในเรื่องพระเจ้า เหล่าทวยเทพ บนสวรรค์ที่
ดลบันดาลให้เกิดกลางวันกลางคืน เริ่มจาก ดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์

อิทธิพลดังกล่าวในยุคนั้น ทำให้มีบางคนเช่น พระ ผู้นำศาสนา เจ้าลัทธิ เริ่มศึกษา
ความเปลี่ยนแปลง เช่น เก็บข้อมูลจัดทำปฏิทิน นำมาบัญญัติโดยผู้ปกครองเล่ากัน
เป็นตำนานต่อๆกันมา บรรยายเรื่องราวบนท้องฟ้า ผสมผสานระหว่างดาราศาสตร์
(Astronomy) และโหราศาสตร์ (Astrology) และแนวความเชื่อเรื่องจักรวาล

หลักฐานสำคัญเมื่อ 4,500 ปีมาแล้ว บริเวณอาณาเขต Akkadians จักรวรรดิแห่ง
แรกของโลก เป็นส่วนหนึ่งของด้านเหนือ Mesopotamia ภายหลังคือ Babylonia
(ด้านใต้คืออาณาจักร Sumer) มีหลักฐานชิ้นสำคัญ แสดงว่านักดาราศาสตร์ซึ่ง
เป็นผู้นำศาสนาของ Babylonia พยากรณ์การเคลื่อนที่ของ ดวงอาทิตย์
Akkadians จักรวรรดิแห่งแรกของโลก
อาณาจักร Babylonia
การวิเคราะห์สัญลักษณ์ Akkadians โดย Dr. Barry M. Warmkessel พบว่า มีการแสดงถึง
ดาวเคราะห์หลายดวง และดาวหางที่โคจรมาจาก Kuiper belt (บริเวณขอบสุริยะ)
ซึ่งในยุคนั้น เรายังไม่เข้าใจว่าสำรวจทราบด้วยวิธีใด ทั้งๆไม่มีอุปกรณ์ทันสมัยที่จะสืบค้นได้
Babylonian clay tablet (สมุดบันทึกทำด้วยดินเหนียวยุค Babylonian)
บันทึกเรื่องราวดาราศาสตร์ และโหราศาสตร์
ปฏิทิน คืองานชิ้นสำคัญที่มนุษย์ ใช้วิชาดาราศาสตร์ 

การเฝ้ามองท้องฟ้าสังเกตความเปลี่ยนแปลงกับโลก อย่างเป็นวัฐจักรมีกลางวัน
และกลางคืน มีเวลาเช้า สาย บ่าย ค่ำ ดึก ทำให้มีต้นความคิดกำหนดแบบแผน
เปลี่ยนแปลงของสิ่งที่ผ่านไป และสิ่งที่กำลังจะเกิดใหม่ นั่นคือ เวลา อันมีอดีต
และอนาคต

เชื่อว่าชาวจีนเป็นกลุ่มชนที่ กำหนดวัน เดือน ปี ในปฏิทินมาช้านานแล้ว โดยริเริ่ม
จาก Xia หรือ Hsia ราชวงศ์แรกของจีน ก่อนคริสตกาลระหว่าง 1,600-2,100 ปี
พบหลักฐานออกแบบไว้ใช้ ในกองทัพ และได้พัฒนาเป็นปฏิทิน ชุดแรกของจีน
โดยใช้กลุ่มดาว Big Dipper (ดาวหมีใหญ่) กำหนดเป็นจุดสิ้นสุดของเดือน

ต่อมาพบเอกสารแสดงบันทึก แสดงความเคลื่อนที่ ของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์
และดาวด้วยเส้น ทางจันทรคติ 12 เดือน บอกถึงฤดูกาล สำหรับการเก็บเกี่ยว
พืชผล และการเลี้ยงสัตว์

แต่อีกฟากโลก ก่อนคริสตกาลประมาณ 2,000-3,000 ปี ชาว Babylonia และ
ชาว Egyptians พัฒนาปฏิทิน ด้วยการศึกษากำหนดจากท้องฟ้า เพื่อการเกษตร
ทำนายโดยใช้ ดาว เช่น Sirius (ดาวที่สุกใสสว่าง) หรือเกี่ยวกับดวงอาทิตย์และ
ดวงจันทร์ แสดงถึง ความเปลี่ยนแปลงผิดปกติด้านอุทกภัย เช่น น้ำท่วม โดยมี
7 วันใน 1 สัปดาห์และ 12 เดือนใน 1 ปี อย่างสมบูรณ์ จากการพัฒนาต่อเนื่อง
ยาวนานนับหลายร้อยปี

การจัดทำปฏิทิน เป็นการแสดงว่ามนุษย์ได้เริ่มใช้ ขบวนการวิชาดาราศาสตร์และ
คณิตศาสตร์ เพื่อประโยชน์ต่อการดำรงชีพอย่างมีแบบแผน ต่อประชากรโลก
ทั้งมวล จนทุกวันนี้
ต้นแบบปฏิทินจีนโบราณ ใช้สำหรับกองทัพ พบในสุสานเก่าแก่
ก่อนคริสตกาลระหว่าง 1,600-2,100 ปี
แผ่นจารึกปฎิทิน บนดินเหนียว ของชาว Babylonia ยุค Neo Sumerian
ก่อนคริสตกาล 1,600-2,100 ปี ขนาด 7.0x4.5x2.5 cm มีจำนวน 13 เดือน
แผ่นจารึกปฎิทิน บนหิน Black stone ของชาว Babylonia ยุค Middle Babylonian
ก่อนคริสตกาล 800-1,100 ปี ขนาด 7.1x17.2x1.7 cm มีจำนวน 13 เดือน
ด้านบนเป็นห่วงวงแหวน รูปสิงโตหมอบ
แผ่นจารึกปฎิทิน บนดินเหนียวสีเหลือง ของชาว Neo-Assyrian ราว ค.ศ.681-705
ขนาด 8.1x6.9x2.6 cm มีรายละเอียดของวัน
แผนที่ดาราศาสตร์โบราณ ชนชาติจีน ก่อนคริสตกาล

นอกจากปฏิทินแล้ว การบันทึกเรื่องดาราศาสตร์ ในประวัติศาสตร์ทางโบราณคดี
ของจีนพบว่ามีเอกสารบันทึกเรื่องสุริยุปราคา มานานกว่า 4,000 ปี ก่อนคริสตกาล
บันทึกเรื่องราวกลุ่มดาวเคราะห์ต่างๆ โดยเฉพาะ์ Navigator stars (ดาวนำทาง)
และยังพบหลักฐานแผนที่ดาวโบราณ ใช้สำหรับการสอนในโรงเรียนดาราศาสตร์
ชาวจีนโบราณ 700 ก่อนคริสตกาล และยุคต่อมายังมีหลักฐานเครื่องมือด้าน
ดาราศาสตร์ในราชสำนักจีนยุคโบราณ 


นอกจากนั้น Book of silk (แผนที่ดาวโบราณบนผ้าไหม) เป็นเอกสารม้วนยาว
1.5 เมตร ของจีนแสดงชื่อ ดาวหางภาพเขียนประเภทดาวหาง อีก 29 แบบรวม
ถึงการเคลื่อนไหว สี ความยาว เรียกว่า Broom stars (ดาวเหมือนด้ามไม้กวาด)
ใช้เวลาบันทึกต่อเนื่องราว 300 ปี ได้สำรวจพบในหลุมศพ เมื่อ ค.ศ. 1973

หลักฐานเริ่มแต่ 4,000 ปี ก่อนคริสตกาล ตามที่กล่าวมา หลังจากนั้น 1,000 ปี
ต่อมา เกิดแผนที่ดาว บรรจุหมู่ดาวไว้ 44 กลุ่ม ประกอบด้วยดาว 141 ดวง และ
ต่อมา 500 ปีก่อนคริสตกาล มีการเปลี่ยนแปลง ยุคสงคราม (Warring States
Period) แสดงกลุ่มดาว Big Dipper (ดาวหมีใหญ่) เพิ่มหมู่ดาวอีก 28 กลุ่ม

ช่วงก่อนคริสตกาล 221-475 ปี แผนที่แสดงหมู่ดาว 75 กลุ่ม บริเวณตรงกลาง
แผนที่ และจำนวนหมู่ดาว 42 กลุ่มไว้รอบๆ โดยมีรายละเอียด ดาว 510 ดวง ใน
18 หมู่ดาว

ก่อนคริสตกาล 350 ปี นักดาราศาสตร์ Shi Shen จัดทำแผนที่หมู่ดาว 138 กลุ่ม
มีรายชื่อดาว 810 ดวง ตำแหน่งดาว 121 ดวง รวมถึงจันทรุปราคา ต่อมามีการ
สำรวจ ปรับปรุงเรื่อยมานับหลายสิบครั้ง

ช่วงต้นคริสต์ศักราช Han Grave Mural Star Chart มีรายละเอียดดวงอาทิตย์
และดวงจันทร์ ดาวอีก 10 ดวง ต่อมา ค.ศ. 193 แผนที่ดาวของ Whole Sky Star
Maps มีดาว 1,464 ดวง กลุ่มดาว 248 กลุ่ม

ครั้นถึงยุค Southern Dynasties Period ได้นำสี แดง ขาว ดำ มาใช้แสดงใน
Whole Sky Planetarium ถัดมา ค.ศ. 526 ในยุค Northern Wei Grave Dome
Star Map แสดงตำแหน่งของ The Milky Way หลังจากนั้นก็ยังเพิ่มเติมเรื่อยมา
อีกมากกว่า 30 ครั้ง
ภาพเขียนโบราณ แสดงให้เห็นถึงเครื่องมือทางดาราศาสตร์ ของจีน
แผนที่ดาวโบราณของจีน มีจำนวนของหมู่ดาวเป็นจำนวนมากนับร้อย
แผนที่ดาวโบราณของจีน ชนิดพับได้
ยุคแรกของแผนที่ดาว ใช้ในการเดินเรือ

ชาว Polynesians หมู่เกาะ Marshall Island มหาสุมทรแปซิฟิค สอนลูกหลาน
เพื่อใช้การเดินเรือในทะเล ด้วยลักษณะแผนภูมิ ประกอบด้วย กลุ่มดาวและดาว
178 ดวง ให้เข้าใจระบบลมทะเล เส้นทางบินของนกในทะเล การเกิดคลื่นใหญ่
สร้างโดยใช้กิ่งไม้ และใบไม้เป็นแผนที่ เรียกว่า Telepa เป็นการศึกษา ท้องฟ้า
และทะเลเข้าด้วยกัน

แผนที่ดาว ของชนเผ่าอินเดียนแดง 

เรียกว่า Pawnee Star Map แผนที่ดาวเคราะห์ใน ระบบสุริยะ จัดทำโดยชาว
อินเดียน-อเมริกัน (Pawnee) ยุคโบราณ แสดงถึง ดาวศุกร์และดาวอื่นๆ เช่น ดาว
Sirius ,Auriga, Sagittarius, Procyon และ Scorpius
Telepa แผนที่ สร้างโดยใช้กิ่งไม้และใบไม้
แผนที่ดาว Pawnee Star Map ของชนเผ่าอินเดียนแดง ทำจากหนังสัตว์
ดาวดวงเดียวกัน แต่ต่างความหมาย

ด้วยความต่างๆกันของการมอง รูปแบบของกลุ่มดาว ด้วยเหตุผลทางวัฒนธรรม
และอารยะธรรม ตัวอย่าง เช่น กลุ่มดาว Big Dipper (กลุ่มดาวหมีใหญ่) ชนเผ่า
อินเดียน-อเมริกัน (American-Indian) เรียกว่า Plough (ดาวไถ) ส่วนชาวฮินดู (Hindu) เรียกว่า Seven great sages (เจ็ดนักปราชญ์)

แต่ชนชาติอีจิปย์ (Egyptians) มองเห็นเหมือนวัว เรียกว่า Bul lสำหรับชาวจีน
นับถือเป็นดาวเทพแห่งสวรรค์ (Heavenly influences) ชาวยุโรปโบราณ (Anglo-Saxons) เห็นเป็นรถม้าที่ใช้ลากจูง (Wagon) จากนิทานปรำประรา King Arthur

อีกตัวอย่าง เช่น ดาวลูกไก่ (Hen with Chicks) เป็นกลุ่มที่ชาวไทยรู้จักดี เรียก
ตามชาวยุโรปโบราณ สำหรับชาวกรีกโบราณ เรียกกลุ่มดาวนี้ว่า Seven Sisters stars (เจ็ดพี่น้อง) ชาวญี่ปุ่นรู้จักในชื่อ Subaru ส่วนชาว Persian ขนานนามว่า Soraya (ชื่อราชินีของอิหร่าน) แต่ในทางดาราศาสตร์ นิยมเรียกว่า Pleaides
หรือ M45
กลุ่มดาวหมีใหญ่ (Big Dipper)
ดาวลูกไก่ (Hen with Chicks)
Egyptian Gods and Goddesses หลักฐานแสดงการเกี่ยวข้องเทพเจ้าของชาวอียิปต์กับท้องฟ้า
จักรราศี และโหราศาสตร์ 

ทั่วไปจักรราศี (Zodiac) ในสัญลักษณ์โหราศาสตร์โบราณ (Astrology) ประกอบ
ไปด้วย 12 กลุ่มดาว ล้อมรอบดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ มีเป็นจำนวนมากที่นำเอา
หมู่ดาว 88 กลุ่มเข้าไปเป็นสัญลักษณ์ ในทางโหราศาสตร์เช่นกัน

เพื่อแสดงถึงอิทธิพลของดาวและดาวเคราะห์ ที่มีผลต่อมนุษย์ในสิ่งหนึ่งสิ่งใด เช่น
ความรัก ความมั่งมี ความเจ็บป่วย เป็นต้น การเกี่ยวข้องดังกล่าว แม้ในยุคโบราณ ทุกคนทราบดีว่า มิได้มีหลักการทางวิทยาศาสตร์รองรับ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงเส้น
ทางเดินของดาวเคราะห์ ที่กระทบกัน การทำนายแต่ละครั้งเป็นเรื่องราวซ้ำซาก
จากหมอดูหรือเทพยากรณ์

อย่างไรก็ตาม ยังมีผู้คนจำนวนมากสนใจคำทำนายโหราศาสตร์เช่นเดิม เพื่อสนุก
สนานกับคำทำนาย หรือเชื่ออย่างจริงจัง พึงสังเกตว่า แรงดึงดูดระหว่างดวงดาวใน
จักรวาล มีอยู่ทั่วไปก็จริง แต่ีไม่ได้มีผล ต่อมนุษย์หรือสิ่งต่างๆบนโลกที่จะผลักดัน
ได้ เช่นที่จะนำมาทำนายถึงการเปลี่ยนแปลง

เพราะทั้งหมด เกิดจากธรรมชาติของระบบ ที่เป็นไปเองอย่างช้าๆ การปะปนกัน
ระหว่าง ดาราศาสตร์และโหราศาสตร์ เป็นมาแต่โบราณ ด้วยรากฐานที่เกี่ยวข้อง
กันในเรื่องราว ชื่อดาวที่เป็นเทพเจ้า กำหนดให้เป็นความเชื่อโดยชนชั้นปกครอง
แผนภูมิโหราศาสตร์ นำรูปแบบดาราศาสตร์เข้ามาใช้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น