วันพุธที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ระบบเครือข่าย แลน (LAN)



แลน (อังกฤษLocal Area Network หรือ LAN) หรือ ข่ายงานบริเวณเฉพาะที่ เป็นการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ถึงกันทั้งหมดโดยอาศัยสื่อกลาง มีการแบ่งแยกเครือข่ายออกเป็น 2 รูปแบบการเชื่อมโยงคือ การเชื่อมโยงภายในพื้นที่ระยะใกล้หรือ แลน (LAN) และการเชื่อมโยงระยะไกลหรือแวน (WAN) โดยการเชื่อมโยงเครือข่ายแบบแลน มี 3 รูปแบบ คือ
  1. Bus มีการรับส่งข้อมูลด้วยความเร็ว 10-100 MB/sจะเชื่อมต่อกันบนสายสัญญาณเส้นเดียวกัน โดยจะมีอุปกรณ์ที่เรียกว่า T-Connector เป็นตัวแปลงสัญญาณข้อมูลเพื่อนำเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์และ Terminator ในการปิดหัวท้ายของสายในระบบเครือข่ายเพื่อดูดซับข้อมูลไม่ให้เกิดการสะท้อนกลับของสัญญาณ
     2.Star เป็นระบบที่มีเป็นการต่อแบบรวมศูนย์ โดยเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องจะต่อสายเข้าไปที่อุปกรณ์ที่เรียกว่า Hub หรือ Switch โดยอุปกรณ์ที่เรียกว่า Hub หรือ Switch จะทำหน้าที่เปรียบศูนย์กลางที่ทำหน้าที่กระจายข้อมูล โดยข้อดีของการต่อในรูปแบบนี้คือ หากสายสัญญาณเกิดขาดในคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง เครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆจะสามารถใช้งานได้ปรกติ แต่หากศูนย์กลางคือ Hub หรือ Switch เกิดเสียจะทำให้ระบบทั้งระบบไม่สามารถทำงานได้ทั้งระบบ
   3. Ring เป็นระบบที่มีการส่งข้อมูลไปในทิศทางเดียวกัน โดยจะมีเครื่อง Server หรือ Switch ในการปล่อย Token เพื่อตรวจสอบว่ามีเครื่องคอมพิวเตอร์ใดต้องการส่งข้อมูลหรือไม่และระหว่างการส่งข้อมูลเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆที่ต้องการส่งข้อมูลจะต้องทำการรอให้ข้อมูลก่อนหน้านั้นถูกส่งให้สำเร็จเสียก่อน

ข้อดีของระบบ LAN
  1. เนื่องจากผู้ใช้คอมพิวเตอร์ในวง LAN เดียวกันสามารถใช้ทรัพยากรที่มีในวง LAN ร่วมกันได้ ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายในการจัดซื้อสำหรับอุปกรณ์ที่สามารถใช้งานร่วมกันได้ เช่น เครื่องพิมพ์ หรือสแกนเนอร์ เป็นต้น
  2. การขนย้ายข้อมูลระหว่างเครื่องต่อเครื่องในระบบ ทำได้รวดเร็วกว่าการขนย้ายข้อมูลด้วยแผ่นดิสเก็ต
  3. เป็นระบบพื้นฐานในการเชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ต
ข้อเสียของระบบ LAN
  1. ถ้าสายขาดจะไม่สามารถโอนถ่ายข้อมูลได้

วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2556

นีล อาร์มสตรอง

 “นีล อาร์มสตรอง” เป็นประโยคที่ถูกกล่าวอ้างถึงมากในวงการวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ ครู นักเรียนหรือแม้กระทั่งเด็กตัวเล็กๆ ที่มีความสนใจในวิทยาศาสตร์ต่างรู้ดีว่า นีล อาร์มสตรอง คือชื่อของบุรุษผู้ที่ลงไปเหยียบพื้นผิวดวงจันทร์เป็นคนแรก ถือเป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่อีกท่านหนึ่งไม่แพ้นักวิทยาศาสตร์ท่านอื่นๆ ที่มีชื่อเสียงและถูกกล่าวอ้างในหนังสือวิทยาศาสตร์หลายๆ เล่ม

ชื่อของ นีล อาร์สตรอง ถูกกล่าวขานและเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลกก็เมื่อตอนที่เดินทางกลับจากการปฏิบัติภารกิจเยือนดวงจันทร์ และกลับถึงพื้นโลกอย่างปลอดภัย จากนั้นมาบุรุษท่านนี้ก็เป็นบุคคลสำคัญของโลกหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือเป็นบุคคลสำคัญของมวลมนุษยชาติ ล่าสุดบุรุษท่านนี้ได้เสียชีวิตลงด้วยอาการติดเชื้อขณะเข้ารับการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจด้วยวัย 82 ปี  เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม    2555 ที่ผ่านมา
        นีล แอลเดน อาร์มสตรอง (Neil Alden Armstrong) เป็นชืื่อเต็มของวีรบุรุษท่านนี้ เขาเป็นนักบินอวกาศที่สร้างประวัติศาสตร์ให้กับมวลมนุษยชาติ ได้ปฏิบัติภารกิจเป็นผู้บัญชาการยานอวกาศสำรวจดวงจันทร์ ซึ่งเป็นโครงการสำรวจอวกาศขององค์การนาซา (NASA) ภายใต้วัตถุประสงค์ในการแข่งขันความเป็นเจ้าอวกาศกันในช่วงสงครามเย็นระหว่างรัฐบาลสหรัฐกับสหภาพโซเวียต นักวิทยาศาสตร์ของแต่ละประเทศที่เป็นมหาอำนาจต่างเร่งพัฒนาเทคโนโลยีการสำรวจอวกาศ  หลังจากความพยายามที่ยิ่งใหญ่มนุษย์ก็สามารกส่งยานอวกาศไปโคจรรอบดวงจันทร์ได้ ทั้งสองประเทศดังกล่าวข้างต้นต่างเป็นคู่แข่งกันในด้านการสำรวจอวกาศทั้งนี้สหภาพโซเวียตรัซเซียนั้นใช้โครงการลูนา 2-21 ในการสำรวจและที่สำคัญสหภาพโซเวียสเองก็สามารถส่งยานอวกาศขึ้นไปโคจรรอบดวงจันทร์ได้ก่อนสหรัฐฯ  ส่วนสหรัฐฯ นั้นใช้ชื่อโครงการสำรวจอวกาศของพวกเขาว่าโครงการเรนเจอร์ ยานอวกาศของสหรัฐชื่อว่าเรนเจอร์ ต่อมาใช้ยานอวกาศออร์บิเตอร์(Orbiter) และยานอวกาศเซอร์เวเยอร์ จากความล้าหลังของนักวิทยาศาสตร์ของสหรัฐฯ กลับเป็นแรงผลักดันให้พวกเค้าเข้าใกล้ความสำเร็จทุกๆ ขณะ จนเข้าสู่ยุคของโครง  การ อะพอลโล (Apollo) เป็นโครงการสำรวจอวกาศของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการส่งมนุษย์ไปสำรวจดวงจันทร์ ระหว่างปี พ.ศ.2504 - 2518 โดยมียานอวกาศทั้งหมด 12 ลำ ได้แก่ ยานอะพอลโล 1, 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15, 16, 17 โดยยานอวกาศลำแรกที่ลงจอดบนพื้นผิวของดวงจันทร์คือ อะพอลโล 11 เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2512 
        ทั้งนี้โครงการอะพอลโล 11 ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด เป็นความสำเร็จที่ถือเป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ในวงการวิทยาศาสตร์ก็คือได้นำนักบินอวกาศขององค์การนาซา ได้แก่ นีล อาร์สตรอง เอ็ดวิน อัลดรินและ ไมเคิล คอลลินส์ จากนั้นก็ถึงเวลาของวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ของเรา ก้าวเท้าลงไปเหยียบพื้นผิวดวงจันทร์ พร้อมกับคำพูดประโยคหนึ่งที่เป็นอมตะมาจนถึงทุกวันนี้ว่า “นี่เป็นก้าวย่างเล็กๆของมนุษย์คนหนึ่ง แต่เป็นก้าวกระโดดอันยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ” (That’s one small step for man, one giant leap for mankind)
        นักบินอวกาศสองคนคือ นีล อาร์สตรองและเอ็ดวิน อัลดริน ได้ลงเหยียบพื้นผิวดวงจันทร์เป็นที่เรียบร้อยส่วนนักบินอวกาศที่เหลืออีกคนจะอยู่บนยานควบคุม เพื่อถ่ายภาพทำแผนที่และส่งผ่านสัญญาณวิทยุติดต่อกับโลก


        หลังจากยานอะพอลโล 11 ลงจอดลงผิวดวงจันทร์แล้ว นีล อาร์มสตรองและ เอ็ดวิน อัลดริน (นักบินอวกาศคนที่ลงเหยียบพื้นผิวดวงจันทร์เป็นคนที่ 2) ได้ใช้เวลามากกว่า 27 ชั่วโมง เพื่อทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ได้แก่ การเก็บตัวอย่างหินบนดวงจันทร์ ตัวอย่างภาพถ่ายพื้นผิวดวงจันทร์ ติดตั้งเครื่องวัดแผ่นดินไหว ติด ตั้งอุปกรณ์วัดรังสีจากดวงอาทิตย์และติดตั้งอุปกรณ์สะท้อนแสงเลเซอร์จากโลก ทั้งนี้เพื่อเป็นเครื่องมือวัดระยะทางที่แน่นอนระหว่างโลกและดวงจันทร์

ภาพการสำรวจและติดตั้งอุปกรณ์วิทยาศาสตร์บนพื้นผิวดวงจันทร์ 
ภาพโดยองค์การนาซา (NASA)


        นอก จากนี้พวกเขายังเก็บข้อมูลภาพพื้นผิวดวงจันทร์ชิ้นส่วนของดวงจันทร์กลับมา วัตถุประสงค์ก็เพื่อวิเคราะห์ธาตุองค์ประกอบและวัดค่าอายุของดวงจันทร์โดย วิธีการหาค่าครึ่งชีวิตจากหินดวงจันทร์ทำให้นักวิทยาศาสตร์รู้ว่าดวงจันทร์ นั้นมีอายุประมาณ 4,600 ล้านปีซึ่งถือว่าใกล้เคียงกับโลกของเรามาก นั่นหมายความว่าโลกกับดวงจันทร์อาจจะถือกำเนดขึ้นมาพร้อม  กัน   

เบื้องหลังและหนทางสู่ความสำเร็จของ นีล อาร์มสตรอง

ภาพของนีล อาร์มสตรองตั้งแต่เยาววัย (อายุ 6 ขวบและภาพเข้าสู่วัยทำงานขณะเป็นนักบินอวกาศขององค์การนาซา (NASA)และสุดท้ายขวาสุดเป็นภาพของนีล อาร์สตรองในวัยชรา ภาพโดยองค์การนาซา (NASA)

          นีล อาร์มสตรอง เกิดวันที่ 5 สิงหาคม 2473 ที่ฟาร์มในรัฐโอไฮโอ และมีความใฝ่ฝันอยากเป็นนักบินตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ด้วยความสนใจและความสามารถพิเศษของตัวเขาเองทำให้เขามีความรู้ความชำนาญในการบิน และได้รับอนุญาติให้ขับเครื่องบินได้ในวัยเพียงแค่ 16 ปี แต่ความทะเยอทะยานของเด็กคนนี้ไม่ได้จบสิ้นแค่เท่านั้น เขายังทุ่มเทและศึกษาเกี่ยวกับการบินต่อในระดับปริญญาตรี ด้านวิศวกรรมศาสตร์พื้นฐานการบิน จากมหาวิทยาลัยเพอร์ดู และปริญญาโทในสาขาเดียวกันนี้ในมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นฟอร์เนีย  และแล้วก็ถึงเวลาที่ชายคนนี้จะย่างเข้าสู่องค์กรที่มีความเป็นเลิศทางด้านดาราศาสตร์หรือที่รู้จักกันในนามองค์การนาซา (NASA) ได้คัดเลือก นีล อาร์มสตรอง เข้าไปทำงานเป็นนักบินอวกาศ ที่เมืองฮุสตัน รัฐเท็กซัส โดยรับมอบหมายเป็นหัวหน้าทีมสำรวจดวงจันทร์ ตามโครงการสำรวอวกาศด้วยยานอะพอลโล 11ดังรายละเอียดที่กล่าวมาแล้วข้างต้น แต่ความสำเร็จของวีรบุรุษไม่ใช่เรื่องง่าย ก่อนที่จะมีการขึ้นสู่อวกาศนีล อาร์มสตรองและลูกเรือจะต้องทำการฝึกซ้อมและฝึกฝนร่างกายอย่างหนักเพื่อเตรียมพร้อมที่จะปฏิบัติภารกิจบนดวงจันทร์ ดังภาพแต่ละช่วงเหตการณ์ ดังต่อไปนี้

ภาพนักบินอวกาศผู้ปฏิบัติภารกิจพิชิตดวงจันทร์ทั้ง 3 ท่านได้แก่ นีล อาร์มสตรอง ไมเคิล คอลลินส์และเอ็ดวิน อัลดริน เรียงจากซ้ายไปขวา
ภาพโดย : องค์การนาซา (NASA)
ภาพนักบินอวกาศผู้ปฏิบัติภารกิจพิชิตดวงจันทร์ทั้ง 3 ท่านได้แก่ นีล อาร์มสตรอง ไมเคิล คอลลินส์และเอ็ดวิน อัลดริน ขณะทำการฝึกซ้อม
ภาพโดย : องค์การนาซา (NASA)
ภาพของนีล อาร์มสตรอง ขณะฝึกซ้อมการลงสัมพัสพื้นผิวดวงจันทร์ขณะยานลงจอด
ภาพโดย : องค์การนาซา (NASA)
ภาพของนีล อาร์มสตรอง ขณะซ้อมการเก็บตัวอย่างหินพื้นผิวดวงจันทร์ขระยานลงจอด
ภาพโดย : องค์การนาซา (NASA)
นีล อาร์มสตรอง ก่อนเดินทางไปดวงจันทร์
ภาพโดย : องค์การนาซา (NASA)


ฟ้าผ่า



 สืบเนื่องจากเหตุการณ์ "ฟ้าผ่าคน" เสียชีวิตนับสิบราย ในช่วงเวลา 1 เดือน ของการเริ่มต้นหน้าฝน รวมถึงสัตว์เลี้ยงที่ปล่อยเลี้ยงไว้ตามทุ่งนาก็ถูกฟ้าผ่าตายไปจำนวนไม่น้อย เรียกได้ว่า เป็นอีกหนึ่งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่สร้างความสูญเสียให้แก่ชีวิตและทรัพย์สิน อีกทั้งยังสร้างความหวาดกลัวยามฝนฟ้าคะนอง เพราะไม่อาจรู้เลยว่า เสียงฟ้าร้อง ฟ้าคำราม จะกลายเป็นฟ้าผ่าที่คร่าชีวิตเราหรือไม่ ดังนั้น มาทำความรู้จักกับ การเกิดฟ้าผ่า อันตรายจากฟ้าผ่า รวมถึงวิธีป้องกันตนเอง เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุฟ้าผ่าในช่วงหน้าฝนกันดีกว่า

          สำหรับปรากฏการณ์ฟ้าผ่า เกิดจากการปลดปล่อยประจุไฟฟ้าออกจากเมฆฝนฟ้าคะนอง หรือ เมฆคิวมูโลนิมบัส (cumulonimbus) มีลักษณะเป็นก้อนขนาดใหญ่ บริเวณฐานเมฆจะสูงจากพื้นประมาณ 2 กิโลเมตร และส่วนยอดเมฆอาจสูงถึง 20 กิโลเมตร โดยภายในก้อนเมฆจะมีการไหลเวียนของกระแสอากาศอย่างรวดเร็วและรุนแรง ทำให้หยดน้ำและก้อนน้ำแข็งในเมฆเสียดสีกันจนเกิดประจุไฟฟ้า โดยพบว่าประจุบวกมักจะอยู่บริเวณยอดเมฆ ส่วนประจุลบอยู่บริเวณฐานเมฆ ซึ่งประจุลบที่ฐานเมฆอาจจะเหนี่ยวนำให้พื้นผิวของโลกที่อยู่ใต้เงาของมันมีประจุเป็นบวกด้วย

 ฟ้าผ่าแบ่งได้อย่างน้อย 4 แบบหลัก ได้แก่

 1.ฟ้าผ่าภายในก้อนเมฆ
 2.ฟ้าผ่าจากเมฆก้อนหนึ่งไปยังเมฆอีกก้อนหนึ่ง
 3.ฟ้าผ่าจากฐานเมฆลงสู่พื้น เรียกว่า ฟ้าผ่าแบบลบ
 4.ฟ้าผ่าจากยอดเมฆลงสู่พื้น เรียกว่า ฟ้าผ่าแบบบวก

          สำหรับฟ้าผ่าแบบลบและแบบบวกนั้นจะทำอันตรายต่อคน สัตว์ และสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่บนพื้นดินหรือผืนน้ำ โดยฟ้าผ่าแบบลบจะผ่าลงบริเวณใต้เงาของเมฆฝนฟ้าคะนองเป็นหลัก เพราะพื้นที่ดังกล่าวถูกเหนี่ยวนำให้มีสภาพเป็นประจุบวก ส่วนฟ้าผ่าแบบบวกสามารถผ่าได้ไกลออกไปจากก้อนเมฆถึง 40 กิโลเมตร ภายในเวลา 1 วินาที โดยมักจะเกิดในช่วงท้ายของพายุฝนฟ้าคะนองคือหลังจากที่ฝนซาแล้ว

ฟ้าผ่า เกิดจากอะไร และวิธีป้องกันฟ้าผ่า รับมือหน้าฝนนี้

          ในกรณีที่ไม่มีอุปกรณ์หรือเครื่องมือช่วยตรวจวัดความเสี่ยงของการเกิดฟ้าผ่า หากมีเมฆฝนฟ้าคะนองอยู่เหนือศีรษะ แล้วเส้นขนบนผิวหนังลุกขึ้นหรือเส้นผมบนศีรษะลุกตั้งขึ้น แสดงว่ากำลังเสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่า หรือหากเกิดพายุฝนฟ้าคะนองใกล้ตัวในระยะประมาณ 16 กิโลเมตร แล้วมีฟ้าแลบหรือฟ้าผ่า และได้ยินเสียงฟ้าร้องหลังฟ้าแลบน้อยกว่า 30 วินาที แสดงว่าอยู่ใกล้เขตเสี่ยงฟ้าผ่า ซึ่งทุกคนจะต้องปฏิบัติตนเพื่อป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า ดังนี้

 วิธีป้องกันตัวฟ้าผ่า

           1. หากอยู่ในที่โล่งให้หาที่หลบที่ปลอดภัย เช่น อาคารขนาดใหญ่ แต่อย่าอยู่ใกล้ผนังอาคาร ประตู และหน้าต่าง หรือหลบในรถยนต์ที่ปิดกระจกมิดชิด แต่อย่าสัมผัสกับตัวถังรถ

           2. หากหาที่หลบไม่ได้ ให้หมอบนั่งยอง ๆ ให้ตัวอยู่ต่ำที่สุด โดยนำมือทั้งสองข้างมาแนบติดกับเข่า แล้วซุกหัวเข้าไประหว่างเข่า ส่วนเท้าให้ชิดกันหรือเขย่งปลายเท้า เพื่อลดพื้นที่สัมผัสกับพื้นให้น้อยที่สุด แต่อย่านอนหมอบกับพื้น เพราะกระแสไฟฟ้าอาจวิ่งมาตามพื้น

           3. อย่ายืนหลบอยู่ใต้ต้นไม้สูงและบริเวณใกล้เคียงกับต้นไม้ หรืออยู่ในที่สูงและใกล้ที่สูง ที่สำคัญอย่ากางร่ม

           4. ห้ามใช้โทรศัพท์มือถือกลางแจ้งในขณะที่เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง เพราะแม้โทรศัพท์มือถือจะไม่ใช่สื่อล่อฟ้า แต่ฟ้าผ่าจะเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าเข้ามาในมือถือ อีกทั้งโทรศัพท์มือถือมีส่วนประกอบที่เป็นแผ่นโลหะ สายอากาศและแบตเตอรี่ที่เป็นตัวล่อฟ้าจึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่า และยังทำให้แบตเตอรี่ลัดวงจรจนเกิดระเบิด ส่งผลให้ผู้ถูกฟ้าผ่าได้รับบาดเจ็บมากขึ้น

           5. ห้ามใช้โทรศัพท์บ้านหรือเล่นอินเทอร์เน็ตในขณะที่เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง เพราะฟ้าอาจผ่าลงมาที่เสาสัญญาณหรือเสาอากาศที่อยู่นอกบ้าน และกระแสไฟจากฟ้าผ่าจะวิ่งมาตามสายโทรศัพท์ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ทำให้โทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ได้รับความเสียหาย รวมถึงยังส่งผลให้ผู้ใช้งานได้รับอันตราย

           6. ถอดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าออกให้หมด เพราะฟ้าอาจผ่าลงที่เสาไฟฟ้าหรือสายไฟฟ้า ทำให้กระแสไฟฟ้ากระชาก เครื่องใช้ไฟฟ้าจึงอาจเสียได้ และควรดึงเสาอากาศของโทรทัศน์ออก เพราะหากฟ้าผ่าที่เสาอากาศบนหลังคาบ้าน อาจวิ่งเข้าสู่โทรทัศน์ได้

           7. หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับโลหะทุกชนิด เนื่องจากโลหะเป็นตัวนำไฟฟ้า และอย่าอยู่ใกล้สายไฟ

           8. หลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำ เพราะเป็นตัวนำไฟฟ้า

           9. ควรเตรียมไฟฉายไว้ส่องดูทาง เพราะอาจเกิดไฟดับหรือไฟไหม้ได้ แต่ไม่ควรใช้เทียนไขในบ้าน เพราะอาจเสี่ยงต่อไฟไหม้

วันพุธที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2556

แรงโน้มถ่วง

นิวตันไม่ใช่คนแรกที่ค้นพบแรงโน้มถ่วง เรื่องแรงโน้มถ่วงมีการค้นคว้ามาก่อนสมัยของเขา สิ่งที่เขาค้นพบคือค้นพบว่าแรงโน้มถ่วงเป็นแรงสากลที่มีทั่วไปทั้งจักรวาล ไม่ได้มีแต่บนโลกของเรา

อะลิสโตเติลกล่าวว่าการเคลื่อนที่เป็นวงกลมบนท้องฟ้าเกิดขึ้นบนสวรรค์ คนโบราณเข้าใจว่าการเคลื่อนที่ของดวงดาว ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ เคลื่อนที่เป็นวงกลม อิสระจากแรงใดๆ แต่คนโบราณบอกว่าการเคลื่อนที่แบบวงกลมไม่สามารถอธิบายได้ และมีกฎอยู่ 2 อย่างคือกฎที่ควบคุมโลกและกฎความคุมสวรรค์

จนกระทั่งเซอร์ ไอแซค นิวตันค้นพบความจริงที่ว่าแรงที่ดึงดูดให้โลก และดวงดาวต่างๆอยู่ด้วยกันได้เนื่องจากแรงโน้มถ่วงและแรงโน้มถ่วงนี้เองที่เป็นแรงที่ทำดึงดูดให้ลูกแอปเปิลตกลงมาสู่พื้น นิวตันสร้างความสัมพันธ์ว่าแรงที่โลกดึงดูดแอปเปิล โลกดึงดูดดวงจันทร์ และกับวัตถุอื่นทั้งจักรวาลคือแรงดึงดูดเดียวกัน ซึ่งเราเรียกว่าแรงโน้มถ่วง ดังนั้นกฎของนิวตันจึงเป็นกฎเดียวที่สามารถอธิบายได้บนโลก และทั้งจักรวาล

กฎของแรงโน้มถ่วง (The Universal Law of Gravity)
นักศึกษาหนุ่มนิวตันกลับบ้านเกิดเพราะมหาวิทยาลัยปิดเนืื่องจากเกิดโรคระบาด  ที่บ้านเกิดซึ่งเป็นโรงนา  มีต้นแอปเปิดอยู่ต้นหนึ่ง  น้องสาวของนิวตันเล่าว่าเขาชอบที่จะไปนั่งใต้ต้นแอปเปิลนั้นแล้วคิดเรื่องปัญหาฟิสิกส์  

หนึ่งในปัญหาฟิสิกส์ซึ่งเป็นปัญหายิ่งใหญในยุคนั้น (ประมาณ 300  ปีก่อน)  คือปัญหาเรื่องแรงโน้มถ่วง  ด้วยสติปัญญาอันล้ำลึกของนิวตันเขาเป็นคนแรกที่ค้นพบความจริงว่าแรงโน้มถ่วงเป็นแรงที่ทำให้ลูกแอปเปิลตกลงสู่พื้นและแรงเดียวกันนี้  ดึงดูดให้ดวงจันทร์ และดวงดาวบนท้องฟ้าโคจรร่วมกันเป็นระบบ   เป็นครั้งแรกที่มนุษย์ล่วงรู้ความลัพของสรวงสวรรค์ว่าแท้จริงแล้ว  วัตถุบนท้องฟ้าและวัตถุบนโลกสามารถอธิบายได้ด้วยกฎเดียวกัน


ตามตำนาน นิวตันนั่งอยู่ใต้ต้นแอปเปิลในขณะนั้นเขากำลังคิดหาคำตอบถึงธรรมชาติของแรงโน้มถ่วง เมื่อลูกแอปเปิลหล่นจากต้น เขามองมาที่ลำต้นมายังกิ่งและขั้วของแอปเปิลจนกระทั่งลูกแอปเปิลตกลงมาทำให้นิวตันเห็นความสัมพันธ์ว่าแรงที่ดึงลูกแอปเปิลตกลงมาสู่พื้นกับแรงที่ดึงดูดที่ดึงดูดดวงจันทร์ให้โคจรรอบโลกเป็นแรงเดียวกัน นั่นคือแรงโน้มถ่วง
เพื่อทำการทดสอบสมมุติฐาน นิวตันเปรียบเทียบการตกของแอปเปิลกับการตกของดวงจันทร์แต่การตกของด้วงจันทร์เป็นแนวเส้นโค้ง

หลังจากที่เขาค้นพบทฤษฏีแรงโน้มอันสวยงาม หลังจากนั้น 20 ปีเขากลับไปศึกษาเรื่องทัศนศาสตร์เชิงเรขาคณิต หลังจากนั้นในปี 1680 เขากลับมาศึกษาเรื่องดาวหางอีกครั้งแล้วอีก 2 ปีต่อมาเขากลับไปศึกษาเรื่องดวงจันทร์อีกครั้งซึ่งได้รับการสนับสนุนจากเพื่อนของเขา เอดมัน ฮัลเลย์ เขาใช้ผลจากบันทึกที่ได้จากการดูดาวแล้วนำมาคำนวณตามกฎแรงโน้มถ่วง ผลที่ได้น่าพอใจมาก

วัตถุทุกอย่างดึงดูดกันและกัน แรงดึงดูดนี้คือแรงโน้มถ่วงซึ่งมีค่ามากถ้าวัตถุมีมวลมาก และแรงโน้มถ่วงน้อยลงเมื่อระยะห่างมากขึ้น ซึ่งสามารถเขียนเป็นสมการได้ดังนี้

ค่าคงที่โน้มถ่วงสากล G (The Universal Gravitational Constant, G)
เมื่อมีกฎแรงโน้มถ่วงค่าคงที่โน้มถ่วงสากล G ในตอนแรกถูกสร้างขึ้นมาโดยนิวตัน แต่ยังไม่ทราบว่ามีค่าเท่าไร ถ้ามวลแต่ละอันมีขนาด 1 kg และห่างกัน 1 mจะได้แรงโน้มถ่วงเป็น 0.0000000000667 N ซึ่งเท่ากับค่าคงที่โน้มถ่วงสากล

การทดลองหาค่าคงที่โน้มถ่วงสากล
หลังจากนิวตันเสียชีวิตไปแล้ว 70 ปี  นักฟิสิกส์ชาวอังกฤษ เฮนรี่ คาเวนดีช (Henry Cavendish) สามารถวัดค่า G ได้หลังยุคของนิวตันหลายปี ศัตรวรรษที่ 18 เขาวัดค่าแรงโน้มถ่วงอันน้อยนิดได้ด้วยคานที่มีความไวต่อการเปลี่ยนแปรงมากๆและถ่วงคานทั้งสองข้างด้วยลูกตุ้มหนัก 6 ตัน อุปกรณ์ทั้งหมดอยู่ในครอบแก้ว
แรงโน้มถ่วงระหว่างมวลสองอันวัดได้โดยให้วัตถุตึงดูดกัน ค่า m1 และ m2 ค่าระยะ R ทำให้หาค่าคงที่โน้มถ่วงสากลได้
เมื่อค่า G เป็นแรงที่อ่อนมากๆ เป็นแรงพื้นฐานที่อ่อนที่สุด (แรงอีกสามอย่างที่เหลือคือ แรงแม่เหล็กไฟฟ้าแรงนิวเคลียร์อย่างเข้ม แรงนิวเคลียร์อย่างอ่อน)
ถ้าเรายืนอยู่ในเรือ แรงโน้มถ่วงระหว่างเรากับเรือก็มีแต่ยังน้อยกว่าแรงโน้มถ่วงที่เรามีต่อโลก แรงโน้มถ่วงที่เรามีต่อโลกนี้เราสามารถวัดได้นั่นก็คือน้ำหนักของเรานั่นเอง
น้ำหนักของเราขึ้นอยู่กับมวลของเรา ถ้ามวลมากน้ำหนักก็มาก แต่ถ้าเราขึ้นยานอวกาศออกห่างจากโลกไปเรื่อยๆน้ำหนักของเราจะลดลง จนกระทั่งออกห่างจากโลกมากๆก็จะกลายเป็นสภาวะไร้น้ำหนัก
ถ้าเรารู้ค่า G ก็สามารถวัดค่าน้ำหนักของโลกได้อย่างง่ายดาย แรงโน้มถ่วงของโลกที่มีต่อมวล 1 kgที่ผิวโลก 9.8 N ระยะห่างจากจุดศูนย์กลางโลก6.4×106
เมื่อค่าคงที่โน้มถ่วง ให้ m1 คือมวล 1 kg และ m2 คือมวลของโลก
สรุปได้ว่ามวลโลกคือ 6.4×106 ในยุคนั้นการวัดค่า Gได้เป็นครั้งแรงทำให้ผู้คนสนใจมาก หนังสือพิมพ์ทุกๆฉบับพาทหัวข่าวเรื่องการวัดมวลของโลก สมการของนิวตันเป็นสมการที่น่าตื่นเต้น ทำให้เรารู้มวลของภูเขา มหาสมุทร และทุกสิ่งทุกอย่างบนโลกใบนี้
ภาพการทดลองของคาเวนดีช ณ ห้องทดลองในเคมบริด ประเทศอังกฤษ
น้ำหนักและสภาวะไร้น้ำหนัก (Weight and Weightlessness)
เมื่อเราชั่งน้ำหนักนำหนักของเราจะไปกดสปริงในตาชั่ง แล้วสปริงก็ดันให้เข็มบอกน้ำหนักของเรา ขณะที่เราชั่งน้ำหนักเราและเครื่องชั่งอยู่นิ่งน้ำหนักที่ได้เท่ากับน้ำหนักจริงของเรา
แต่ถ้าเราชั่งน้ำหนักบนลิฟ เมื่อลิฟขึ้นเราจะหนักเพิ่มขึ้นแต่ถ้าลิฟลงเราจะเบาลง แต่ถ้าลิฟตกร่วงลงมาเราจะอยู่ในสภาวะไร้น้ำหนักเพราะไม่มีแรงกระทำกับเครื่องชั่ง
มนุษย์อวกาศซึ่งอยู่ในสถานีอวกาศอยู่ในสภาวะไร้น้ำหนัก ทำให้ทุกอย่างล่องลอยไปมาในสถานีอวกาศกล้ามเนื้อของมนุษย์อวกาศจะค่อยๆอ่อนแอลงเพราะไม่ได้ออกแรงต้านกับแรงโน้มถ่วง
 ลิฟนิ่ง ลิฟขึ้น ลิฟลง ลิฟตก ตามลำดับ

น้ำขึ้นนำลงของมหาสมุทร (Ocean Tides)
นิวตันอธิบายว่าน้ำขึ้นน้ำลงเกิดจากแรงโน้มถ่วงระหว่างโลกกับดวงจันทร์ น้ำขึ้นน้ำลงจากแรงโน้มถ่วงของโลกด้านใกล้ดวงจันทร์มากกว่าด้านไกลดวงจันทร์เนื่องจากแรงโน้มถ่วงจะน้อยลงถ้าระยะห่างอยู่ห่างออกไป
เพื่อจะตอบปัญหาว่าเหตุใดแรงโน้มถ่วงซึ่งดึงเข้าหาดวงจันทร์ใดด้านไกลดวงจันทร์ ทำไมจึงทำให้เกิดน้ำขึ้นได้ ให้เรานึกถึงลูกโป่งใส่น้ำกลมๆอันหนึ่งถ้าเราออกแรงดึงมันทุกทิศทางมันจะขยายออกเป็นทรงกลมเหมือนเดิม ถ้าออกแรงสองแรงไปด้านเดียวกัน แต่ออกแรงด้านหนึ่งมากกว่าอีกด้าน ลูกบอลจะกลายทรงรี ซึ่งก็เหมือนกับโลกเรามีแรงน้ำขึ้นน้ำลงออกไปสองด้านตรงกันข้ามนั่นเอง
แรงน้ำขึ้นน้ำลงคือแรงสู่ศูนย์กลาง ซึ่งจุดศูนย์กลางอยู่ระหว่างดวงจันทร์กับโลก น้ำขึ้นนำลงจะสูงขึ้น 1 mจากระดับน้ำทะเล โลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบต่อหนึ่งวันเมื่อโลกหมุนด้านหน้าไปหาจุดน้ำขึ้นก็จะเกิดน้ำขึ้นครั้งแรก จากนั้นโลกก็หมุนด้านหลังผ่านจุดน้ำขึ้นอีกจึงมีน้ำขึ้น 2 ครั้งต่อวัน
ดวงจันทร์โคจรและอยู่ตำแหน่งเดิมทุก 24 ชั่วโมง 50 นาที ทำให้น้ำขึ้นน้ำลงแต่ละวันเกิดขึ้นในเวลาต่างกัน
 น้ำขึ้นน้ำลง


น้ำขึ้นน้ำลงเกิดจากแรงโน้มถ่วงระหว่างน้ำบนโลกกับดวงจันทร์

ดวงอาทิตย์มีผลต่อน้ำขึ้นน้ำลง ถึงแม้ว่าจะมีน้อยเนื่องจากดวงอาทิตย์อยู่ไกลมาก คือมีผลต่อความสูงของน้ำขึ้นน้ำลง 3 %
 น้ำขึ้นสูงที่สุดเมื่อพระจันทร์เต็มดวง

น้ำขึ้นต่ำที่สุดเมื่อพระจันทร์ครึ่งดวง

เมื่อดวงจันทร์ครึ่งเสี้ยวแรงโน้มถ่วงของดวงจันทร์กับดวงอาทิตย์จะหักล้างกัน ทำให้น้ำขึ้นน้ำลงลดต่ำลงกว่าปกติ และน้ำขึ้นน้ำลงจะสูงกว่าปกติในวันเดือนดับและวันพระจันทร์เต็มดวงเนื่องจากได้รับแรงโน้มถ่วงเสริมจากดวงอาทิตย์

น้ำขึ้นน้ำลงในบรรยากาศ (Tides in Atmosphere)
เราอาศัยอยู่ที่ใต้มหาสมุทรของอากาศ ซึ่งบรรยากาศที่ห่อหุ้มเรามีแรงแบบน้ำขึ้นน้ำลงด้วย แต่เนื่องจากเราอยู่ใต้มหาสมุทรแห่งอากาศเราจึงไม่รู้สึก
ที่บรรยากาศชั้นบนคือไอโอโนสเฟีย เป็นบรรยากาศชั้นสูง ชื่อของชั้นนี้ได้จากการที่มันเต็มไปด้วยไอออน ซึ่งเกิดจากการแตกตัวของอากาศเมื่อชนกับรังสีอัลตราไวโอเลตและรังสีคอสมิก แรงน้ำขึ้นน้ำลงทำให้เกิดกระแสแม่เหล็ก ที่ควบคุมไม่ให้รังสีคอสมิกทะลุผ่านมายังบรรยากาศชั้นล่าง

น้ำขึ้นน้ำลงบนดวงจันทร์ (Tides on the Moon)
มีน้ำขึ้นน้ำลงสองครั้งใน 1 วัน เกิดขึ้นบนดวงจันทร์เหมือนกับที่เกิดขึ้นบนโลก แรงดึงดูดสองด้านที่ไม่เท่ากันนี้ทำให้ดวงจันทร์ถูกดึงกลายเป็นรูปทรงรี โดยมีรัศมีด้ายยาวชี้มาทางโลก และแรงดึงดูดน้ำขึ้นน้ำลงบนดวงจันทร์เกิดขึ้นที่เดิมตลอดเวลา
ดวงจันทร์ใช้เวลา 27.3 วันในการหมุนรอบตัวเอง และหันด้านเดียวเข้าหาโลกตลอดเวลา
เนื่องจากจุดศูนย์กลางแรงโน้มถ่วงอยู่ตำแหน่งใกล้เคียงจุดศูนย์กลางมวล แรงดึงดูดจากโลกสร้างทอร์คเพื่อบิดให้แนวแกนยาวของดวงจันทร์ชี้มาทางโลก ยึดให้หน้า ของดวงจันทร์หันด้านเดียวมายังโลก และโลกก็หันด้านเดียวไปยังดวงจันทร์เช่นกัน

สนามแรงโน้มถ่วง (Gravitational Fields)
โลกและดวงจันทร์ดึงดูดซึ่งกันและกัน แรงโน้มถ่วงเป็นแรงระยะไกล เราสามารถมองอีกอย่างได้ว่าอวกาศรอบโลกเกิดสนามโน้มถ่วงเนื่องจากมวลของโลก สนามโน้มถ่วงเป็นแรงระหว่างมวล
สนามโน้มถ่วงเป็นตัวอย่างหนึ่งของสนามแรง มีลักษณะคล้ายสนามแม่เหล็กซึ่งกระจายล้อมรอบก้อนแม่เหล็กส่วนที่เส้นแรงแม่เหล็กถี่ๆใกล้ก้อนแม่เหล็กคือสนามแม่เหล็กความเข้มสูง
สนามโน้มถ่วงสามารถเขียนเป็นเส้นรอบโลกคล้ายเส้นแรงแม่เหล็ก สนามโน้มถ่วงมีความเข้มสูงที่ผิวโลกส่วนใดที่มีแหล่งก๊าซธรรมชาติเป็นโพรงใต้ผิวโลก ส่วนนั้นจะมีสนามโน้มถ่วงที่ต่ำกว่าพื้นที่อื่นเล็กน้อยนักสำรวจทางธรณีจึงสนใจวัดความเข้มของสนามโน้มถ่วงเพื่อแสวงหาแหล่งทรัพยากรธรรมชาติ
สนามแรงโน้มถ่วงของดาวเคราะห์ (Gravitational Field Inside a Planet)

สนามโน้มถ่วงในแกนโลกมีที่ตำแหน่งต่างๆมีค่าไม่เท่ากัน ถ้าเราเจาะอุโมงค์ทะลุโลกเราจะเคลื่อนที่แกว่งกลับไปกลับมาระหว่างขั้วโลกเหนือใต้เนื่องจากที่ผิวโลกมีแรงโน้มถ่วงดึงให้วัตถุสั่นกลับไปกลับมาเที่ยวละ 45 นาที ถ้าไม่มีแรงต้านอากาศวัตถุจะแกว่งกลับมาไม่มีวันหยุด
อัตราเร่งในการเคลื่อนที่ a จะลดลงเมื่อตกลงมายังใจกลางโลกเนื่องจากแรงโน้มถ่วงจากขั้วโลกเหนือสมดุลกับแรงโน้มถ่วงจากขั้วโลกใต้ทำให้แรงลัพธ์เป็นศูนย์ วัตถุจะลอยนิ่งเมื่ออยู่ที่ใจกลางโลก และสนามโน้มถ่วงที่ใจกลางโลกเป็นศูนย์

กฎของไอน์สไตน์เรื่องแรงโน้มถ่วง (Einstein's Theory of Gravitation)
ในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 แบบจำลองแรงโน้มถ่วงต่างออกไปจากแบบจำลองของนิวตันมาก แบบจำลองใหม่นี้ค้นพบโดยไอน์สไตน์ โดยทฤษฎีสัมพัธภาพ ไอน์สไตน์สร้างสนามโน้มถ่วง 4 มิติซึ้งได้แก่ กว้าง ยาว สูง และเวลา เขาให้คำจำกัดความว่ามวลสารทำให้มิติกว้าง ยาว สูง และเวลาบิดเบี้ยวไป เหมือนกับตอนที่เรานั่งลงบนที่นอนแล้วเบาะนอนบุบโค้งเป็นรูปกระทะ ยิ่งน้ำหนักมากเบาะยิ่งบุบโค้งเป็นรูปกระทะอันใหญ่ ถ้าเพื่อเรากลิ้งลูกแก้วห่างจากตัวเราที่กำลังนั่งอยู่บนเบาะลูกแก้วนั้นจะเคลื่อนที่เป็นเส้นตรงต่อไป แต่ถ้าลูกบอลกลิ้งผ่านใกล้ตัวเราลูกแก้วจะโคจรเป็นวงกลมรอบตัวเรา เหมือนที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก
ถ้ามองตามความคิดของนิวตัน ดวงจันทร์โคจรรอบโลกได้เพราะมีแรงดึงดูดดึงไว้เหมือนกับการผูกเชือกกับก้อนหินแล้วแกว่ง แต่ถ้ามองตามความคิดของไอน์สไตน์ดวงจันทร์โคจรรอบโลกเพราะดวงจันทร์อยู่ภายใต้สนามโน้มถ่วง 4 มิติ ความจริงแล้วถึงแม้ว่าทฤษฎีของไอน์สไตน์จะถูกต้องแม้นยำกว่าของนิวตัน แต่ในทางปฏิบัตินิยมใช้กฎแรงโน้มถ่วงของนิวตันมากกว่าเนื่องจากคำนวลง่ายกว่าสนามโน้มถ่วงของไอน์สไตน์อย่างมาก

หลุมดำ (Black Holes)
สมมุติว่าเราอยู่ในยานอวกาศที่กำลังลงจอดบนพื้นผิวดาว น้ำหนักของเราจะขึ้นอยู่กับมวลของเราและมวลของดาวดวงนั้น ถ้าดวงดาวหดลงครึ่งหนึ่งแต่มวลยังเท่าเดิมน้ำหนักเราจะเพิ่มขึ้น 4 เท่าตามกฎแรงโน้มถ่วงที่ว่าระยะทางผกผันกำลังสอง ทำให้แรงโน้มถ่วงมากขึ้นเมื่อรัศมีจากจุดศูนย์กลางมวลถึงมวลแต่ละอันลดลง ถ้าดวงดาวมีขนาดลดลง 10 เท่า จะทำให้นำหนักเราเพิ่มขึ้น 100 เท่า ดวงดาวดังลักษณะนี้ต้องใช้ยานที่มีอัตราเร็วสูงมากจึงจะทำให้หลุดพ้นจากแรงโน้มไปสู่อวกาศได้ ถ้าดวงดาวอย่างดวงอาทิตย์ของเรายุบตัวลง 3 km จะทำให้วัตถุที่หยุดพ้นมันได้ต้องมีอัตราเร็วแสง

ถ้าดวงดาวมีขนาดลดลง 10 เท่า จะทำให้นำหนักเราเพิ่มขึ้น 100 เท่า  ความจริงแล้วดวงอาทิตย์ของเรามีมวลน้อยไม่สามารถยุบตัวลงได้ แต่สำหรับดวงอาทิตย์ที่ใหญ่เป็น 1.5 เท่าของดวงอาทิตย์ของเรา มีโอกาสยุบตัวทำให้แรงโน้มถ่วงเพิ่มขึ้นมหาศาล จนไม่มีวัตถุใดหลุดพ้นจากอำนาจโน้มถ่วงได้ แม้กระทั้งแสง ทำให้เกิดปรากฏการณ์นี้ว่าหลุมดำ   เราจะค้นพบหลุมดำได้อย่างไร ในเมื่อมันไมมีแสงออกมาเลย เราอาศัยดูดาวรอบข้างว่าโดนหลุมดำดูดเข้าไปหรือไม่

แรงโน้มถ่วงสากล (Universal Gravitation)
เรารู้ว่าโลกเป็นทรงกลม แต่ทำไมโลกต้องกลมด้วยหละ? ฮา ฮา ฮา ถามแปลกนักวิทยาศาสตร์ของเรามักตั้งคำถามแปรกเพื่อไขความลับของธรรมชาติ เนื่องจากการเคลื่อนที่เข้าหาดวงหาดวงดาวจะเคลื่อนที่พุ่งมายังดาวนั้น และแรงโน้มถ่วงดูดโลกให้เข้าหาศูนย์กลางเท่ากันทุกด้านจึงทำให้โลกกลม
แรงโน้มถ่วงเป็นตามสมการนี้


เมื่อ F คือแรงโน้มถ่วง G คือค่าความโน้มถ่วงสากล m1 คือมวลที่ 1 m2 คือมวลที่ 2 และ R คือรัศมีวงโคจร



ตารางเปรียบเทียบค่าความเร่งโน้มถ่วงของดาวต่างๆ
ดาวมวล [kg]รัศมี [m]ความเร่งโน้มถ่วง
 (g) [m/s²]
g / g-Earth
Sun1.99 x 10306.96 x 108274.1327.95
Mercury3.18 x 10232.43 x 1063.590.37
Venus4.88 x 10246.06 x 1068.870.90
Earth5.98 x 10246.38 x 1069.811.00
Moon7.36 x 10221.74 x 1061.620.17
Mars6.42 x 10233.37 x 1063.770.38
Jupiter1.90 x 10276.99 x 10725.952.65
Saturn5.68 x 10265.85 x 10711.081.13
Uranus8.68 x 10252.33 x 10710.671.09
Neptune1.03 x 10262.21 x 10714.071.43
Pluto1.40 x 10221.50 x 1060.420.04

ดาวส่วนใหญ่ที่เราระบุข้อมูลตามตารางด้านบน  เราไม่ได้ไปเหยียบ  และมีข้อมูลแต่เพียงการสำรวจด้วยยานสำรวจอวกาศและดูเส้นทางการโคจรจากกล้องดูดาวแล้วเราทราบได้อย่างไรว่ามวลของดาวแต่ละดวงมีค่าเท่าไร  หลายๆคนคงสงสัยขึ้นมา  ความจริงแล้วเราสามารถนำกฎข้อที่ 3 ของเคปเลอร์  มาประยุกต์กับกฎของนิวตันเพื่ออธิบายมวลของดวงดาวได้  

จากกฎข้อที่ 3 ของเคปเลอร์
กฎข้อที่ 3 “กำลังสองของคาบการโคจรของดาวเคราะห์เป็นสัดส่วนโดยตรงกับกำลังสามของกึ่งแกนเอกของวงโคจร” ดังนั้น ไม่เพียงความยาววงโคจรจะเพิ่มด้วยระยะทางแล้ว ความเร็วของการโคจรจะลดลงด้วย การเพิ่มของระยะเวลาการโคจรจึงเป็นมากกว่าการเป็นสัดส่วน

ขอละวิธีการพิสูจน์ไว้นะคะ  เพราะต้องใช้สมการแคลคูลัสชั้นสูงประกอบการอธิบาย  แต่ในบทความนี้เน้นอธิบายเฉพาะระดับมัธยม  สรุปเป็นสมการเพื่ออธิบายน้ำหนักของดวงดาวได้ดังสมการ
เมื่อ M คือ มวลของดวงดาว
r  คือรัศมีวงโคจร
G คือค่าความเร่งโน้มถ่วงสากล 
T  คือคาบการโคจร