วันเสาร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2556

นีล อาร์มสตรอง

 “นีล อาร์มสตรอง” เป็นประโยคที่ถูกกล่าวอ้างถึงมากในวงการวิทยาศาสตร์ นักวิทยาศาสตร์ ครู นักเรียนหรือแม้กระทั่งเด็กตัวเล็กๆ ที่มีความสนใจในวิทยาศาสตร์ต่างรู้ดีว่า นีล อาร์มสตรอง คือชื่อของบุรุษผู้ที่ลงไปเหยียบพื้นผิวดวงจันทร์เป็นคนแรก ถือเป็นนักวิทยาศาสตร์ผู้ยิ่งใหญ่อีกท่านหนึ่งไม่แพ้นักวิทยาศาสตร์ท่านอื่นๆ ที่มีชื่อเสียงและถูกกล่าวอ้างในหนังสือวิทยาศาสตร์หลายๆ เล่ม

ชื่อของ นีล อาร์สตรอง ถูกกล่าวขานและเป็นที่รู้จักของคนทั่วโลกก็เมื่อตอนที่เดินทางกลับจากการปฏิบัติภารกิจเยือนดวงจันทร์ และกลับถึงพื้นโลกอย่างปลอดภัย จากนั้นมาบุรุษท่านนี้ก็เป็นบุคคลสำคัญของโลกหรือกล่าวอีกนัยหนึ่งคือเป็นบุคคลสำคัญของมวลมนุษยชาติ ล่าสุดบุรุษท่านนี้ได้เสียชีวิตลงด้วยอาการติดเชื้อขณะเข้ารับการผ่าตัดหลอดเลือดหัวใจด้วยวัย 82 ปี  เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม    2555 ที่ผ่านมา
        นีล แอลเดน อาร์มสตรอง (Neil Alden Armstrong) เป็นชืื่อเต็มของวีรบุรุษท่านนี้ เขาเป็นนักบินอวกาศที่สร้างประวัติศาสตร์ให้กับมวลมนุษยชาติ ได้ปฏิบัติภารกิจเป็นผู้บัญชาการยานอวกาศสำรวจดวงจันทร์ ซึ่งเป็นโครงการสำรวจอวกาศขององค์การนาซา (NASA) ภายใต้วัตถุประสงค์ในการแข่งขันความเป็นเจ้าอวกาศกันในช่วงสงครามเย็นระหว่างรัฐบาลสหรัฐกับสหภาพโซเวียต นักวิทยาศาสตร์ของแต่ละประเทศที่เป็นมหาอำนาจต่างเร่งพัฒนาเทคโนโลยีการสำรวจอวกาศ  หลังจากความพยายามที่ยิ่งใหญ่มนุษย์ก็สามารกส่งยานอวกาศไปโคจรรอบดวงจันทร์ได้ ทั้งสองประเทศดังกล่าวข้างต้นต่างเป็นคู่แข่งกันในด้านการสำรวจอวกาศทั้งนี้สหภาพโซเวียตรัซเซียนั้นใช้โครงการลูนา 2-21 ในการสำรวจและที่สำคัญสหภาพโซเวียสเองก็สามารถส่งยานอวกาศขึ้นไปโคจรรอบดวงจันทร์ได้ก่อนสหรัฐฯ  ส่วนสหรัฐฯ นั้นใช้ชื่อโครงการสำรวจอวกาศของพวกเขาว่าโครงการเรนเจอร์ ยานอวกาศของสหรัฐชื่อว่าเรนเจอร์ ต่อมาใช้ยานอวกาศออร์บิเตอร์(Orbiter) และยานอวกาศเซอร์เวเยอร์ จากความล้าหลังของนักวิทยาศาสตร์ของสหรัฐฯ กลับเป็นแรงผลักดันให้พวกเค้าเข้าใกล้ความสำเร็จทุกๆ ขณะ จนเข้าสู่ยุคของโครง  การ อะพอลโล (Apollo) เป็นโครงการสำรวจอวกาศของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการส่งมนุษย์ไปสำรวจดวงจันทร์ ระหว่างปี พ.ศ.2504 - 2518 โดยมียานอวกาศทั้งหมด 12 ลำ ได้แก่ ยานอะพอลโล 1, 7, 8, 9, 10, 11, 12, 13, 14, 15, 16, 17 โดยยานอวกาศลำแรกที่ลงจอดบนพื้นผิวของดวงจันทร์คือ อะพอลโล 11 เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2512 
        ทั้งนี้โครงการอะพอลโล 11 ที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด เป็นความสำเร็จที่ถือเป็นก้าวที่ยิ่งใหญ่ในวงการวิทยาศาสตร์ก็คือได้นำนักบินอวกาศขององค์การนาซา ได้แก่ นีล อาร์สตรอง เอ็ดวิน อัลดรินและ ไมเคิล คอลลินส์ จากนั้นก็ถึงเวลาของวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ของเรา ก้าวเท้าลงไปเหยียบพื้นผิวดวงจันทร์ พร้อมกับคำพูดประโยคหนึ่งที่เป็นอมตะมาจนถึงทุกวันนี้ว่า “นี่เป็นก้าวย่างเล็กๆของมนุษย์คนหนึ่ง แต่เป็นก้าวกระโดดอันยิ่งใหญ่ของมนุษยชาติ” (That’s one small step for man, one giant leap for mankind)
        นักบินอวกาศสองคนคือ นีล อาร์สตรองและเอ็ดวิน อัลดริน ได้ลงเหยียบพื้นผิวดวงจันทร์เป็นที่เรียบร้อยส่วนนักบินอวกาศที่เหลืออีกคนจะอยู่บนยานควบคุม เพื่อถ่ายภาพทำแผนที่และส่งผ่านสัญญาณวิทยุติดต่อกับโลก


        หลังจากยานอะพอลโล 11 ลงจอดลงผิวดวงจันทร์แล้ว นีล อาร์มสตรองและ เอ็ดวิน อัลดริน (นักบินอวกาศคนที่ลงเหยียบพื้นผิวดวงจันทร์เป็นคนที่ 2) ได้ใช้เวลามากกว่า 27 ชั่วโมง เพื่อทำการทดลองทางวิทยาศาสตร์ได้แก่ การเก็บตัวอย่างหินบนดวงจันทร์ ตัวอย่างภาพถ่ายพื้นผิวดวงจันทร์ ติดตั้งเครื่องวัดแผ่นดินไหว ติด ตั้งอุปกรณ์วัดรังสีจากดวงอาทิตย์และติดตั้งอุปกรณ์สะท้อนแสงเลเซอร์จากโลก ทั้งนี้เพื่อเป็นเครื่องมือวัดระยะทางที่แน่นอนระหว่างโลกและดวงจันทร์

ภาพการสำรวจและติดตั้งอุปกรณ์วิทยาศาสตร์บนพื้นผิวดวงจันทร์ 
ภาพโดยองค์การนาซา (NASA)


        นอก จากนี้พวกเขายังเก็บข้อมูลภาพพื้นผิวดวงจันทร์ชิ้นส่วนของดวงจันทร์กลับมา วัตถุประสงค์ก็เพื่อวิเคราะห์ธาตุองค์ประกอบและวัดค่าอายุของดวงจันทร์โดย วิธีการหาค่าครึ่งชีวิตจากหินดวงจันทร์ทำให้นักวิทยาศาสตร์รู้ว่าดวงจันทร์ นั้นมีอายุประมาณ 4,600 ล้านปีซึ่งถือว่าใกล้เคียงกับโลกของเรามาก นั่นหมายความว่าโลกกับดวงจันทร์อาจจะถือกำเนดขึ้นมาพร้อม  กัน   

เบื้องหลังและหนทางสู่ความสำเร็จของ นีล อาร์มสตรอง

ภาพของนีล อาร์มสตรองตั้งแต่เยาววัย (อายุ 6 ขวบและภาพเข้าสู่วัยทำงานขณะเป็นนักบินอวกาศขององค์การนาซา (NASA)และสุดท้ายขวาสุดเป็นภาพของนีล อาร์สตรองในวัยชรา ภาพโดยองค์การนาซา (NASA)

          นีล อาร์มสตรอง เกิดวันที่ 5 สิงหาคม 2473 ที่ฟาร์มในรัฐโอไฮโอ และมีความใฝ่ฝันอยากเป็นนักบินตั้งแต่ยังเป็นเด็ก ด้วยความสนใจและความสามารถพิเศษของตัวเขาเองทำให้เขามีความรู้ความชำนาญในการบิน และได้รับอนุญาติให้ขับเครื่องบินได้ในวัยเพียงแค่ 16 ปี แต่ความทะเยอทะยานของเด็กคนนี้ไม่ได้จบสิ้นแค่เท่านั้น เขายังทุ่มเทและศึกษาเกี่ยวกับการบินต่อในระดับปริญญาตรี ด้านวิศวกรรมศาสตร์พื้นฐานการบิน จากมหาวิทยาลัยเพอร์ดู และปริญญาโทในสาขาเดียวกันนี้ในมหาวิทยาลัยเซาเทิร์นฟอร์เนีย  และแล้วก็ถึงเวลาที่ชายคนนี้จะย่างเข้าสู่องค์กรที่มีความเป็นเลิศทางด้านดาราศาสตร์หรือที่รู้จักกันในนามองค์การนาซา (NASA) ได้คัดเลือก นีล อาร์มสตรอง เข้าไปทำงานเป็นนักบินอวกาศ ที่เมืองฮุสตัน รัฐเท็กซัส โดยรับมอบหมายเป็นหัวหน้าทีมสำรวจดวงจันทร์ ตามโครงการสำรวอวกาศด้วยยานอะพอลโล 11ดังรายละเอียดที่กล่าวมาแล้วข้างต้น แต่ความสำเร็จของวีรบุรุษไม่ใช่เรื่องง่าย ก่อนที่จะมีการขึ้นสู่อวกาศนีล อาร์มสตรองและลูกเรือจะต้องทำการฝึกซ้อมและฝึกฝนร่างกายอย่างหนักเพื่อเตรียมพร้อมที่จะปฏิบัติภารกิจบนดวงจันทร์ ดังภาพแต่ละช่วงเหตการณ์ ดังต่อไปนี้

ภาพนักบินอวกาศผู้ปฏิบัติภารกิจพิชิตดวงจันทร์ทั้ง 3 ท่านได้แก่ นีล อาร์มสตรอง ไมเคิล คอลลินส์และเอ็ดวิน อัลดริน เรียงจากซ้ายไปขวา
ภาพโดย : องค์การนาซา (NASA)
ภาพนักบินอวกาศผู้ปฏิบัติภารกิจพิชิตดวงจันทร์ทั้ง 3 ท่านได้แก่ นีล อาร์มสตรอง ไมเคิล คอลลินส์และเอ็ดวิน อัลดริน ขณะทำการฝึกซ้อม
ภาพโดย : องค์การนาซา (NASA)
ภาพของนีล อาร์มสตรอง ขณะฝึกซ้อมการลงสัมพัสพื้นผิวดวงจันทร์ขณะยานลงจอด
ภาพโดย : องค์การนาซา (NASA)
ภาพของนีล อาร์มสตรอง ขณะซ้อมการเก็บตัวอย่างหินพื้นผิวดวงจันทร์ขระยานลงจอด
ภาพโดย : องค์การนาซา (NASA)
นีล อาร์มสตรอง ก่อนเดินทางไปดวงจันทร์
ภาพโดย : องค์การนาซา (NASA)


ฟ้าผ่า



 สืบเนื่องจากเหตุการณ์ "ฟ้าผ่าคน" เสียชีวิตนับสิบราย ในช่วงเวลา 1 เดือน ของการเริ่มต้นหน้าฝน รวมถึงสัตว์เลี้ยงที่ปล่อยเลี้ยงไว้ตามทุ่งนาก็ถูกฟ้าผ่าตายไปจำนวนไม่น้อย เรียกได้ว่า เป็นอีกหนึ่งปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่สร้างความสูญเสียให้แก่ชีวิตและทรัพย์สิน อีกทั้งยังสร้างความหวาดกลัวยามฝนฟ้าคะนอง เพราะไม่อาจรู้เลยว่า เสียงฟ้าร้อง ฟ้าคำราม จะกลายเป็นฟ้าผ่าที่คร่าชีวิตเราหรือไม่ ดังนั้น มาทำความรู้จักกับ การเกิดฟ้าผ่า อันตรายจากฟ้าผ่า รวมถึงวิธีป้องกันตนเอง เพื่อเป็นการเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุฟ้าผ่าในช่วงหน้าฝนกันดีกว่า

          สำหรับปรากฏการณ์ฟ้าผ่า เกิดจากการปลดปล่อยประจุไฟฟ้าออกจากเมฆฝนฟ้าคะนอง หรือ เมฆคิวมูโลนิมบัส (cumulonimbus) มีลักษณะเป็นก้อนขนาดใหญ่ บริเวณฐานเมฆจะสูงจากพื้นประมาณ 2 กิโลเมตร และส่วนยอดเมฆอาจสูงถึง 20 กิโลเมตร โดยภายในก้อนเมฆจะมีการไหลเวียนของกระแสอากาศอย่างรวดเร็วและรุนแรง ทำให้หยดน้ำและก้อนน้ำแข็งในเมฆเสียดสีกันจนเกิดประจุไฟฟ้า โดยพบว่าประจุบวกมักจะอยู่บริเวณยอดเมฆ ส่วนประจุลบอยู่บริเวณฐานเมฆ ซึ่งประจุลบที่ฐานเมฆอาจจะเหนี่ยวนำให้พื้นผิวของโลกที่อยู่ใต้เงาของมันมีประจุเป็นบวกด้วย

 ฟ้าผ่าแบ่งได้อย่างน้อย 4 แบบหลัก ได้แก่

 1.ฟ้าผ่าภายในก้อนเมฆ
 2.ฟ้าผ่าจากเมฆก้อนหนึ่งไปยังเมฆอีกก้อนหนึ่ง
 3.ฟ้าผ่าจากฐานเมฆลงสู่พื้น เรียกว่า ฟ้าผ่าแบบลบ
 4.ฟ้าผ่าจากยอดเมฆลงสู่พื้น เรียกว่า ฟ้าผ่าแบบบวก

          สำหรับฟ้าผ่าแบบลบและแบบบวกนั้นจะทำอันตรายต่อคน สัตว์ และสิ่งต่าง ๆ ที่อยู่บนพื้นดินหรือผืนน้ำ โดยฟ้าผ่าแบบลบจะผ่าลงบริเวณใต้เงาของเมฆฝนฟ้าคะนองเป็นหลัก เพราะพื้นที่ดังกล่าวถูกเหนี่ยวนำให้มีสภาพเป็นประจุบวก ส่วนฟ้าผ่าแบบบวกสามารถผ่าได้ไกลออกไปจากก้อนเมฆถึง 40 กิโลเมตร ภายในเวลา 1 วินาที โดยมักจะเกิดในช่วงท้ายของพายุฝนฟ้าคะนองคือหลังจากที่ฝนซาแล้ว

ฟ้าผ่า เกิดจากอะไร และวิธีป้องกันฟ้าผ่า รับมือหน้าฝนนี้

          ในกรณีที่ไม่มีอุปกรณ์หรือเครื่องมือช่วยตรวจวัดความเสี่ยงของการเกิดฟ้าผ่า หากมีเมฆฝนฟ้าคะนองอยู่เหนือศีรษะ แล้วเส้นขนบนผิวหนังลุกขึ้นหรือเส้นผมบนศีรษะลุกตั้งขึ้น แสดงว่ากำลังเสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่า หรือหากเกิดพายุฝนฟ้าคะนองใกล้ตัวในระยะประมาณ 16 กิโลเมตร แล้วมีฟ้าแลบหรือฟ้าผ่า และได้ยินเสียงฟ้าร้องหลังฟ้าแลบน้อยกว่า 30 วินาที แสดงว่าอยู่ใกล้เขตเสี่ยงฟ้าผ่า ซึ่งทุกคนจะต้องปฏิบัติตนเพื่อป้องกันอันตรายจากฟ้าผ่า ดังนี้

 วิธีป้องกันตัวฟ้าผ่า

           1. หากอยู่ในที่โล่งให้หาที่หลบที่ปลอดภัย เช่น อาคารขนาดใหญ่ แต่อย่าอยู่ใกล้ผนังอาคาร ประตู และหน้าต่าง หรือหลบในรถยนต์ที่ปิดกระจกมิดชิด แต่อย่าสัมผัสกับตัวถังรถ

           2. หากหาที่หลบไม่ได้ ให้หมอบนั่งยอง ๆ ให้ตัวอยู่ต่ำที่สุด โดยนำมือทั้งสองข้างมาแนบติดกับเข่า แล้วซุกหัวเข้าไประหว่างเข่า ส่วนเท้าให้ชิดกันหรือเขย่งปลายเท้า เพื่อลดพื้นที่สัมผัสกับพื้นให้น้อยที่สุด แต่อย่านอนหมอบกับพื้น เพราะกระแสไฟฟ้าอาจวิ่งมาตามพื้น

           3. อย่ายืนหลบอยู่ใต้ต้นไม้สูงและบริเวณใกล้เคียงกับต้นไม้ หรืออยู่ในที่สูงและใกล้ที่สูง ที่สำคัญอย่ากางร่ม

           4. ห้ามใช้โทรศัพท์มือถือกลางแจ้งในขณะที่เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง เพราะแม้โทรศัพท์มือถือจะไม่ใช่สื่อล่อฟ้า แต่ฟ้าผ่าจะเหนี่ยวนำกระแสไฟฟ้าเข้ามาในมือถือ อีกทั้งโทรศัพท์มือถือมีส่วนประกอบที่เป็นแผ่นโลหะ สายอากาศและแบตเตอรี่ที่เป็นตัวล่อฟ้าจึงเพิ่มความเสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่า และยังทำให้แบตเตอรี่ลัดวงจรจนเกิดระเบิด ส่งผลให้ผู้ถูกฟ้าผ่าได้รับบาดเจ็บมากขึ้น

           5. ห้ามใช้โทรศัพท์บ้านหรือเล่นอินเทอร์เน็ตในขณะที่เกิดพายุฝนฟ้าคะนอง เพราะฟ้าอาจผ่าลงมาที่เสาสัญญาณหรือเสาอากาศที่อยู่นอกบ้าน และกระแสไฟจากฟ้าผ่าจะวิ่งมาตามสายโทรศัพท์ที่เชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์ ทำให้โทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ได้รับความเสียหาย รวมถึงยังส่งผลให้ผู้ใช้งานได้รับอันตราย

           6. ถอดอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าออกให้หมด เพราะฟ้าอาจผ่าลงที่เสาไฟฟ้าหรือสายไฟฟ้า ทำให้กระแสไฟฟ้ากระชาก เครื่องใช้ไฟฟ้าจึงอาจเสียได้ และควรดึงเสาอากาศของโทรทัศน์ออก เพราะหากฟ้าผ่าที่เสาอากาศบนหลังคาบ้าน อาจวิ่งเข้าสู่โทรทัศน์ได้

           7. หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับโลหะทุกชนิด เนื่องจากโลหะเป็นตัวนำไฟฟ้า และอย่าอยู่ใกล้สายไฟ

           8. หลีกเลี่ยงการสัมผัสน้ำ เพราะเป็นตัวนำไฟฟ้า

           9. ควรเตรียมไฟฉายไว้ส่องดูทาง เพราะอาจเกิดไฟดับหรือไฟไหม้ได้ แต่ไม่ควรใช้เทียนไขในบ้าน เพราะอาจเสี่ยงต่อไฟไหม้